ผลการสำรวจมโนมติที่คลาดเคลื่อนในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกแบบสองลำดับขั้น

Main Article Content

ภาณุพงศ์ นุ้ยผุด
อรุณรัศมิ์ วณิชชานนท์

บทคัดย่อ

       จากเป้าหมายการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยาเพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการ ทฤษฎีและข้อจำกัดโดยผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากความรู้ และความเข้าใจที่มีอยู่เดิมผสานกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน แต่มโนมติที่สร้างขึ้นอาจเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์หรือถูกต้องบางส่วน และจากการสำรวจมโนมติที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนโดยการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกแบบสองลำดับขั้นในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 63 คน ซึ่งได้รับการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
       ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีมโนมติในระดับที่คลาดเคลื่อนในมโนมติหลักเรื่องชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่พบในสิ่งมีชีวิตในข้อที่ 3 มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 79.37 รองลงมาเรื่องปัจจัยและตัวยับยั้งของเอนไซม์คิดเป็นร้อยละ 66.67 และมโนมติหลักเรื่องการทดสอบคาร์โบไฮเดรต นักเรียนมีมโนมติในระดับที่คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.51 ดังนั้นผลจากการสำรวจและรวบรวมสามารถนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและพัฒนามโนมติที่ถูกต้องสมบูรณ์ของนักเรียนต่อไป

Article Details

How to Cite
นุ้ยผุด ภ., & วณิชชานนท์ อ. . (2023). ผลการสำรวจมโนมติที่คลาดเคลื่อนในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกแบบสองลำดับขั้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 161–172. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.259591
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา เงินบุตรโคตร, พีรพงศ์ บุญฤกษ์, นุสรา มูหะหมัด. (2565). “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ด้วยโปรแกรม Sketch UP และ Pixlive Maler”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565) มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 441 – 453

จิตตา สำนักนิตย์, สุธา ภู่สิทธิศักดิ์. (2558). ความเข้าใจมโนมติและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง พันธะเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทาง. 34th the national graduate research conference. หน้า 1,962 – 1,968

ธณัฏฐา คงทน, บุญนาค สุขุมเมฆ, ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). “การพัฒนาแนวคิด เรื่อง เคมีอินทรีย์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน”. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2559). หน้า 62 – 76

ธนภรณ์ ก้องเสียง. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เสริมการเรียนรู้โรงเรียนปราโมทวิทยา รามอินทรา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ธีรพงษ์ แสง

ประดิษฐ์, วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2552). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนแนวคิด เรื่อง แสง ของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มข. ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 (เม.ย. 2552). หน้า 297-309

บุษยา แสงทอง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของสารพันธุกรรมระดับชั้นมัธยมศึกปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เบญจมาภรณ์ อินทร์โสม, อรัญญา พิมพ์มงคล. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น โดยชุดการสอนแบบสื่อประสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

พรทิพย์ สังเกต. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นบูรณาการและเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา

พอรินทร์ พุกพูนธนพัฒน์, จีระวรรณ เกษสิงห์. (2555). การพัฒนาแนวคิด เรื่อง ยีนและโครโมโซมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคอุปมาอุปไมย. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ไพรวัล ดวงตา. (2555). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2566 . จาก https://krupraiwan.wordpress.com

วันวิสา กองเสน. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยบูรพา

สราวุธ แท่นจินดารัตน์, ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแบบจำลองทางความคิดเรื่องพันธะโคเวเลนต์และความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อรอนงค์ อินทร์ตา, ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง, ธีรศักดิ์ เอโบลและพรปวีณ์ กาสา. (2560). การพัฒนาแนวคิด เรื่อง สารเคมีในสิ่งมีชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560. หน้า 1,257 – 1,264

Smith, J. P., diDessa, A. A. and Roschelle, J. (1993). “Misconceptions reconceived: A constructivist analysis of knowledge in Transition”. The Journal of the Learning Sciences 3(2): page 115–163.