การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง วัสดุและสสาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

จุฑารัตน์ ปัจจัยโค
จุฬารัตน์ ธรรมประทีป
ดวงเดือน สุวรรณจินดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง วัสดุและสสาร 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง วัสดุและสสาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองปรือ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง วัสดุและสสาร 2) แบบประเมินความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ และความก้าวหน้าทางการเรียน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทุกคน ก่อนเรียน อยู่ในระดับปรับปรุง หลังเรียนความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับดี จำนวน 7 คน (ร้อยละ 31.82) อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน 13 คน (ร้อยละ 59.09) และอยู่ในระดับปรับปรุงจำนวน 2 คน (ร้อยละ 9.09) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อคิดระดับความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน พบว่า มีความก้าวหน้าทางการเรียนรายชั้นอยู่ในระดับปานกลาง (<g> = 0.31)

Article Details

How to Cite
ปัจจัยโค จ., ธรรมประทีป จ., & สุวรรณจินดา ด. . (2023). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง วัสดุและสสาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(2), 13–26. https://doi.org/10.55164/jedutsu.v23i2.259023
บท
บทความวิจัย

References

เขมรัฐ จุฑานฤปกิจ, เอกภูมิ จันทรขันตี, และสุรศักดิ์ เชียงกา. (2561, 16 สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ขั้น เพื่อพัฒนาการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (เอกสารนำเสนอ). การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2561, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 1741-1753.

จงกล บุญรอด. (2557). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ตรีณา ชุมแสงม ดร.เอกภูมิ จันทรขันตีและ ดร.สุรศักดิ์ เชียงกา. (2560, 10 มีนาคม). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน(เอกสารนำเสนอ). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560, ขอนแก่น,ประเทศไทย, 1178-1189.

ธีระภัทร พินิจมนตรี. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัย-ราชภัฏมหาสารคาม).

ปรีญานันต์ นวลจันทร์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราตรี ยะคำ. (2560).การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร).

รสสุคนธ์ รุ้งประนมกร. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในศูนย์เครือข่ายการพัฒนาการศึกษาแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Anuworrachai, S. (2014). Science learning management by using the scientific explanation. STOU Education Journal, 7(2), 1-14. [in Thai]

Buckley, B. C. Gobert, J. D., Kindfield, A. C. H., Horwitz, P., Tinker, R. F., Gerlits, B., Wilensky, U., Dede, C., & Willett, J, (2004). Model-based teaching and learning with biologic : What do they learn? How learn? How do we know?. Journal of Sciemce Education and Technology, 13(1), 23-41.

Gershenfeld, N. (2012). Science uses model to explain aspects of the real world. Retried Feb 18, 2014. Gobert, J. D., & Buckley, B. C. (2002). Introduction to Model-based teaching and learning in Science Education. Internayional of Science Education, 22(9), 891-894.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2008). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers' instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching, 45(1), 53-78.

National Research Council. National science education standards. Washington, D.C.: National Academy of Science; 1996. Neilson, D., Campbell, T., & Allred, B. (2010). Model-based inquiry in physics: A buoyant force module. The Science Teacher, 77(8), 38-43.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014) PISA 2012 Result, Mathematics, Reading, and Science what do students know? What can be done ? (ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนร้อูะไร และทำอะไรได้บ้าง). Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.