ผลการติดเทปแบบยืดหยุ่นที่ข้อเท้าที่มีต่อความสามารถในการเตะเฉียง ของนักเทควันโดระดับเยาวชน

Main Article Content

ภิญโญ โชติรัตน์
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเตะเฉียงระหว่างกลุ่มควบคุมที่ใช้เทปหลอก (Placebo Tape) กับกลุ่มทดลองที่ใช้เทปแบบยืดหยุ่น (Elastic Tape) ก่อนและหลังการติดเทปของของนักเทควันโดระดับเยาวชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครนักเทควันโดเยาวชนระดับสายดำอายุระหว่าง 12 – 15 ปี ที่สมัครเข้าร่วมการอบรมทักษะกีฬาเทควันโด และได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรมในงานวิจัยครั้งนี้ แล้วผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์การคัดเข้า – คัดออกของโครงการวิจัย จำนวน 18คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random Assignment) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 9 คน ประกอบด้วยกลุ่มควบคุมที่ได้รับวิธีการติดเทปหลอกจำนวน 9 คน และกลุ่มทดลองที่จะได้รับการติดเทปแบบยืดหยุ่นที่ข้อเท้าจำนวน 9 คน ต่อจากนั้นทดสอบความสามารถในการเตะเฉียงก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่ม ภายหลังการทดสอบทั้งสองกลุ่มจะพัก 45 นาที โดยนักกีฬาจะอยู่ในพื้นที่รับรองเท่านั้น ต่อจากนั้นทำการติดเทปให้กลุ่มควบคุมก่อนแล้วทดสอบทันที แล้วนำกลุ่มทดลองติดเทปแบบยืดหยุ่นเป็นลำดับต่อไป แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลไปทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยอันดับ (Mean Rank) ด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู (The Mann – Whitney U Test) และสถิติทดสอบวิลคอกซันไซน์ – แรงค์ (The Wilcoxon Signed – Rank Test)
          ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการเตะเฉียงของนักเทควันโดในกลุ่มทดลองที่ใช้เทปแบบยืดหยุ่นสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้เทปหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig. 2-tailed = 0.04) นอกจากนี้ภายหลังการติดเทปความสามารถในการเตะเฉียงของนักเทควันโดในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการติดเทป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Sig. 2-tailed = 0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด. กรุงเทพฯ, งานพัฒนาองค์ความรู้ กองวิชาการกีฬา ฝ่ายสารสนเทศและวิชาการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.

ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สาริษฐ์ บัวเล็ก. (2555). ผลของการกระตุ้นผิวหนังด้วยเทปยืด ต่อความรู้สึกรับรู้ตำแหน่งภายในข้อเท้า และ H-reflex ของกล้ามเนื้อ Gastrocnemius. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเวชศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์). กรุงเทพมหานครฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Asghar Akbari, Alireza Sarmadi, Parisa Zafardanesh. (2014). “The Effect of Ankle Taping and Balance Exercises on Postural Stability Indices in Healthy Women”, Journal of Physical Therapy Science. 26(5), 763-769.

Avakian P., Miarka B., Achour Junior A. (2016). “Analysis of the frequency of technical-tactical actions in taekwondo: a review”, Revista de Artes Marciales AsiAticas. 11(2), 8-16 ; doi: 10.18002/rama.v11i2.3228.

Chang HY, Chou KY, Lin JJ, Lin CF, Wang CH. (2010). “Immediate effect of forearm Kinesio taping on maximal grip strength and force sense in healthy collegiate athletes”, Journal of Physical Therapy Science.11(4), 122–127.

Kenzo Kase, Jim Wallis and Tsuyoshi Kase. (2013). Clinical therapeutic applications of the kinesio taping method. (3rd edition). New Mexico ; Kinesio Taping Association.

Mervat A. Mohamed, Nadia Lotfy Radwan and Al Shimaa Ramadan Azab. (2016). “Effect of kinesio- taping on ankle joint stability”, International Journal of Medical Research & Health Sciences. 5(5), 51-58.

Moreira P.V. S., Goethel M.F., Goncalves M. (2016). “Neuromuscular performance of Bandal Chagui: Comparison of subelite and elite taekwondo athletes”, Journal of Electromyography and Kinesiology. 30, 55-65; doi:10.1016/j.jelekin.2016.06.001.

Murray H, Husk L. (2001). “Effect of kinesio taping on proprioception in the ankle”, Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy. 31 (1), A–37.

Myers TW. (2009). Anatomy trains: Myofascial meridians for manual and movement therapists. (2nd edition). Edinburgh: Churchill Livingstone.

Pablo Valdes-Badilla, Mauricio Barramuno, Rodrigo Astudillo Pinilla, Tomas Herrera Valenzuela, Eduardo Guzman-Munoz, Mikel Perez-Gutierrez, Carlos GutierrezGarcia, Cristian Martinez

Salazar. (2018). “Differences in the electromyography activity of a roundhouse kick between novice and advanced taekwondo athletes”, Journal of Martial Arts Anthropology. 18(1), 31 – 38, DOI: 10.14589/ido.18.1.5.

Proske Uwe. (2005). “What is the role of muscle receptors in proprioception?”, Muscle Nerve. 31 (6), 780 - 787.

Proske Uwe and Simon C. Gandevia. (2009). “The kinaesthetic senses”, The Journal of Physiology. 587 (17), 4139-4146.

Shumway-Cook, A., & Woollacott, M. H. (2007). Motor control translating research into clinical practice (3rd edition). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.