แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์: บทเรียนจากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ

Main Article Content

ศรัณย์ สงนุ้ย
กัมปนาท บริบูรณ์
รุจน์ ฦาชา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์จากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณได้มาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังคมศึกษา จำนวน 225 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้ภูมิภาคเป็นหน่วยการสุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพได้มาจากกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนที่ได้รับเหรียญรางวัลภูมิศาสตร์โอลิมปิก ซึ่งมีสังกัดแตกต่างกันจำนวน 3 โรงเรียน เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสังเกตด้วยแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?X^{2} = 9.75, df = 52, p = .976, AGFI = 1.00, RMSEA = 0.00, SRMR = 0.01 และ CFI = 1.00) โดยองค์ประกอบด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.63-0.92 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (2) แนวทางการจัดการเรียนรู้จากโรงเรียนที่เข้าแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติเน้นไปที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรภูมิศาสตร์แบบเข้มโดยจัดเป็นค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิกและจัดเสริมความรู้นอกเวลาเรียน ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย ทุกโรงเรียนเน้นให้นักเรียนได้ฝึกฝนและใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์อย่างชำนาญซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญของการเสริมสร้างความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.) New Jersey: Pearson.

Lane, R. and Bourke, T. (2017). Assessment in Geography Education: A Systematic Review. International Research in Geographical and Environmental Education, 28(1), 1-15.

Mcauliffe, C.P. (2013). Geoliteracy though Aerial Photography: Collaborating with K-12 Educator to Teach the National Geography Standards. Journal of Map and Geography Libraries, 9(3), 239-258.

Soper, D.S. (2021). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software].

Thomas-Brown, K.A. (2011). Teaching for Geographic Literacy: Our Afterschool Geography Club. The Social Studies. 101(5), 181-189.

กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-literacy learning for our planet : ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทัศน์ทอง เข็มกลัด. (2561). การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. (ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

บุญดี บุญญากิจ และกมลวรรณ ศิริพานิช. (2545). Benchmarking ทางลัดสู่ความเป็นเลิศ ทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: อินโฟกราฟฟิกส์.

มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์(สอวน.). (2562). ธรรมนูญการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิก. สืบค้นจาก https://www.posn.or.th/wp-content/uploads/2019/08/statutes-TGeo.pdf

วิภาพรรณ พินลาและวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.