ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model

Main Article Content

จิรารัตน์ พร้อมมูล
มาริสา สุวรรณราช
ชุติมา เพิงใหญ่
วรงรอง เนลสัน
สาวิตรี วงค์ประดิษฐ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษา ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยใช้ CIPP Model  โดยผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า IOC เท่ากับ 0.95 ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติ โดยคำนวณ ค่าความถี่ ร้อยละ ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต โดยคำนวณ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 
        ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ด้านที่พึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านอาจารย์ผู้สอน  (M = 4.64, S.D. = 0.44 รองลงมา คือ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (M=4.61, S.D. = 0.53) ด้านที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (M = 4.18, S.D= 0.61) ) แยกรายด้านตาม CIPP Model ดังนี้
        1. ด้านการประเมินบริบท (Context) คือ ด้านหลักสูตรในระดับมากที่สุด (M = 4.54, S.D. = 0.43)
        2. ด้านประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ด้านการรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมในระดับมากที่สุด (M = 4.49, S.D. = 0.45) ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาในระดับมากที่สุด (M = 4.45, S.D. = 0.51) ด้านอาจารย์ผู้สอน ในระดับดีมากที่สุด (M = 4.64, S.D. = 0.44) และด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในระดับมาก (M = 4.18, S.D. = 0.61)
        3. ด้านประเมินกระบวนการ (Process) คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (M = 4.55, S.D. = 0.46) และมีความพึงพอใจด้านด้านการวัดและประเมินผลในระดับมากที่สุด (M = 4.48, S.D. = 0.50)
        4. ด้านประเมินผลิตผล (Product) คือ ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับมากที่สุด (M = 4.61, S.D. = 0.45)
        ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจด้านอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดโดยสามารถแบ่งออกได้  3 ลักษณะ ดังนี้
        1) อาจารย์ผู้สอนมีความหลากหลาย 2) อาจารย์มีความรู้ที่ทันสมัยและมีความพร้อม และ 3 ) อาจารย์มีความเป็นกัลยาณมิตร ความพึงพอใจน้อยที่สุด ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ความพึงพอใจในด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้น้อยที่สุดโดยแบ่งได้เป็น  2 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความไม่เพียงพอของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) ความยุ่งยากของระบบยืม-คืนหนังสือ 
        ดังนั้นทางวิทยาลัยมีการพัฒนาระบบบริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเพิ่มจำนวนหนังสือตำราที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอและมีความสะดวกในการยืม-คืน หนังสือ ตำราแก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2560). ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตระดับ ปริญญาตรีต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2559 (รายงานผลการวิจัย). จังหวัดมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กิ่งเพชร เงินทอง.(2559). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาของ สถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ปีการศึกษา 2558 (รายงานการวิจัย). สุโขทัย: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย

จิรารัตน์ พร้อมมูล, ชุติมา เพิงใหญ่, และตรีทิพย์ เครือหลี. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อ คุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

เชาว์ อินใย. (2553). การประเมินโครงการ = Program evaluation. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรีทิพย์ เครือหลี. (2562). ประสบการณ์ความทุกข์ทางจิตปัญญาของวัยรุ่นมะเร็ง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสารธารณสุขภาคใต้. 6(2). 102-118.

พิมพา กายประสิทธิ์และคณะ. (2553). ความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2552 (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

พอเพ็ญ ไกรนราและคณะ. (2551). รายงานวิจัยเรื่องศึกษาประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ 2545 (รายงานวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชน สงขลา

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะและกัลยา ไผ่เกาะ. ( 2560). ประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 34(1).47-59.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2548). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. (2555). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

สกุนตลา แซ่เตียว, มาลี คำคง, และรจนา วิริยะสมบัติ. (2558). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555) โดยใช้รูปแบบ CIPP Model(รายงานผลการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

สมหวัง พิทยานุวัฒน์ (2551). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การประเมินโครงการ: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุนันทา แก้วสุข (2553). ประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมินชิปป์. (รายงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มปท.

อรวรรณ ธนูศร. (2561). ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ(รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ

Stufflebeam, D .L. (1971). Education evaluation and decision making อ้างในศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). การประเมินหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรระยะสั้นศาสตร์และศิลป์การสอนการพยาบาล. สงขลา: มปท