การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นและระดับสมรรถนะบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็น โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาระดับสมรรถนะบุคลากรประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดฝ่ายวิชาการ จำนวน 26 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการวัดค่าดัชนี IOC (Item Objective Congruence)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะที่จำเป็นบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ ประกอบด้วย 3 ด้าน 1. ด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้เรื่องเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ ความรู้พื้นฐานเรื่องผลงานทางวิชาการ และความรู้เรื่องกฎ ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวิชาการ 2. ด้านทักษะ ได้แก่ การสื่อสารภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร มนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการวิเคราะห์ข้อมูลเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ และ 3. ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ความทุ่มเทในการบริการ การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และการทำงานในความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) ระดับสมรรถะบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรวม พบว่า ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.91, S.D. = 0.61) รองลงมาด้านทักษะ ( = 3.33, S.D. = 0.76) และด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.03, S.D. = 0.73)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2550). กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วันที่ค้นข้อมูล 25 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://image.mfa.go.th/mfa/0/OcXc7u4THG/migrate_directory/other-20130528-092411-875705.pdf.
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). รายงานการประเมินตนเอง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ:
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563 ก.). แผนยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564-2567. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.cts.chula.ac.th/work/strategic-management/strategic-plan.
________. (2563 ข.). รายงานประจำปี 2563 ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วันที่ค้นข้อมูล 25 พฤษภาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm.
________. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). แบบประเมินผลพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ. วันที่ค้นข้อมูล 27 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm.
_______. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). มาตรฐานประจำตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ. วันที่ค้นข้อมูล 7 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.hrm.chula.ac.th.
_______. (2564). ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย. วันที่ค้นข้อมูล 8 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.recruit.hrm.chula.ac.th.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดการทรัพยากรบุคคลพื้นฐานแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภานุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลพลแสน และชคัตตรัย รยะสวัสดิ์. (2564). สมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารราชพฤกษ์, 19(1), 86-98.
ศันสนีย์ บุญนิธิประเสริฐ และสืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา. (2562). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สิริภักตร์ ศิริโท และวราภรณ์ มะลิวัลย์. (2556). การประเมินสมรรถนะบุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผลกรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร, 10(2), 41-60.
สุภัสสรา วิภากูล. (2561). คุณภาพการใหบริการที่เป็นเลิศกับความประทับใจของผู้ใช้บริการในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 20-33.
สุรพงษ์ มาลี. (2549). การพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามสมรรถนะ (Competency Based HRD). วารสารข้าราชการ, 51(4), 19-20.
อภิญญา บุตรลี้ และดวงกมล บางชวด. (2561). การศึกษาความต้องการการพัฒนาความรู้และทักษะที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (วิชาการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(3), 478-489.
อภิรัตน์ พุทธดิลก, ลดาวัลย์ วัฒนบุตร และดวงพร ศรีบุญเรือง. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(3), 231-240.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency: เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง. จุฬาลงกรณ์วารสาร, 16(64), 57-78.
Best, J.W. (1981). Research in Education (4th ed). New Jersey: Prentice-Hall Inc., 182.
McClelland, D.C. (1973). Testing for competence rather than for “intelligence”. American Psychologist, 28, 1-14.
QS Quacquarelli Symonds. (2021). QS World University Rankings. Retrieved May 8, 2021, from https://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings/methodology.
Spencer, L.M., & Spencer, S.M. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. United States of America: John Wiley & Sons, Inc., 9-11.