การพัฒนากระบวนการจัดการการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยและความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กรวรรณ สืบสม
นพรัตน์ หมีพลัด

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยและความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลสัมฤทธ์ทางการเรียนวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์, 3) เพื่อประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้านการพัฒนานวัตกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 50 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 4124529  ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการวิจัย แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
      ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (gif.latex?\bar{x} = 24.30, Sd.= 1.51) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x} = 16.85, Sd.= 7.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกระบวนการจัดการเรียนด้วยโครงงานส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการวิจัยหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}  = 39.5, Sd.= 6.36)   สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x} = 17, Sd.= 5.97) นอกจากนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานส่งผลต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนหลังเรียน (gif.latex?\bar{x} = 35.5, Sd.= 8.84) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x} = 21, Sd.= 6.91) ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนในทุก ๆ ด้าน รวมถึงผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในระดับมาก(gif.latex?\bar{x} = 4.38, Sd.= 0.74)   ดังนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานส่งผลให้ผู้เรียนสามารถกำหนดประเด็นปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ระบุแหล่งข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลเพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลัง (2560). การวิจัยแบบผสมวิธีกระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21: Mixed Methods: Paradigm of Research for the 21th Century,ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุพรรณี ชาญประเสริฐ (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21,นิตยสาร สสวท. ปีที่ 42 ฉบับที่ 185 (พ.ย.- ธ.ค. 2556)

พิมพันธ์ เดชคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา,-กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561

จตุภูมิ เขตจัตุรัส (2560). ผลการชใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของบัณฑิตศึกษา,วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 7(2) พฤษภาคม - สิงหาคม 2560

สุภาณี. เส็งศรี (2011). การฝึกทักษะการวิจัยและพัฒน่าทางการศึกษาโดยใช้กิจกรรมแบบพี่สอนน้อง, Journal of Education Naresuan University, 13(2) พฤษภาคม – สิงหาคม,2011.

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข และ อนิรุทธ์ สติมั่น (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย,วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 47 ฉบับที่ 1 (มกราคม- มีนาคม 2562).

ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ (2557).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู, วารสารวิชาการ Verdian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน- ธันวาคม 2557 ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ

ชนันท์ธิดา ประพิณ กอบสุข คงมนัส ช่อบุญ จิรานุภาพ และ วารีรัตน์ แก้วอุไร ( 2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2562

นูรไอนี ดือรามะ และ ณัฐินี โมพันธ์ (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, ปีที่ 12 ฉบับที่ 22 (ฉ.ที่1 มกราคม - มิถุนายน 2560).

วริยากร อัศวางศานนท์ และพิมพ์อุไร ลิมปพัทธ์ (2563). การวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม - ธันวาคม 2563.

สุพรรษา น้อยนคร รุจโรจน์ แก้วอุไร และนฤมล รอดเนียม (2562).การส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการกับเฟซบุ๊ก , วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2562.