การศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความตระหนักรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ชดาษา จันพรมทอง
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ศิริรัตน์ สินประจักษ์ผล
นพเก้า ณ พัทลุง

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง การศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความตระหนักรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการบูรณาการเนื้อหาและภาษา และ 2) ศึกษาระดับความตระหนักรู้ทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการบูรณาการเนื้อหาและภาษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับฉลาก ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการบูรณาการเนื้อหาและภาษา จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน รวม 40 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ฉบับก่อนและหลังเรียน จำนวน 2 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามความตระหนักรู้ทางสังคม จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการบูรณาการเนื้อหา และศึกษาระดับความตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามการบูรณาการเนื้อหาและภาษา โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
       ผลการวิจัยพบว่า
       1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
       2. ระดับความตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการบูรณาการเนื้อหาและภาษา อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สำราญไชยวิทยา) จังหวัดชัยภูมิ. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปกร).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่งจำกัด (มหาชน).

กาญจนา เงารังษี. (2559). “การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน,” วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(2), 13-18.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน,” วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7 – 20.

ฐิฒิรัฐศาสตร์ พรหมวิชัย. (2555). ความตระหนัก การมีส่วนร่วม และความต้องการใช้เทคโนโลยีในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 70-71, 80-81.

นพพร สโรบล. (2557). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560, จาก http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/56/.pdf.

บริติซเคานซิล. (2559). ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2559, จาก https://www.britishcouncil.or.th/english/children.

บัลลังก์ โลหิตเสถียร. (2558). ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 219/2558 กำหนดสอบ O-NET ประจำปี 2558. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561, จาก www.moe.go.th/websm/2015/jul/219.html.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัท สุวิริยาสาส์น จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. 66-68.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ, สุมาลี ชิโนกุล และสำลี ทองธิว. (2557). “หกขั้นตอนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึกสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา,” Suranaree J. Soc. Sci. 7(2), 59-78.

ภัทรา นิคมานนท์. (2542). การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎจันทรเกษม. 171-180.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 73.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก http://www.niets.or.th.

สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดาพร พงษ์พิษณุ, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์, สุนทร บำเรอราช และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2558). “การสร้างชุดการเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยการอ่าน และเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 26(2). 10-19.

Bentley, Kay. (2010). The TKT Teaching Knowledge..test Cause. University of Cambridge : Cambridge ESOL,.

Bruton, A. (2011). “Are the differences between CLIL and non-CLIL groups in Andalusia due to CLIL? A reply to Lorenzo, Casal and Moore,” Applied Linguistics. 32, 236 -241.

Costa, F., & D’Angelo, L. (2011). “CLIL : A suit for all seasons?,” Latin American Journal of Content & Language Integrated Learning. 4(1), 1 – 13.

Coyle, D., Hood, P., & Marsh, D. (2010). CLIL content and language integrated learning. Cambridge : Cambridge University Press.

Coyle, D., Phillip, H. & David, M. (2011). CLIL (Content and Language Integrated Learning). Cambridge : Cambridge University Press.

Crystal, D. (2003). The Cambridge Encyclopedia of the English Language. (2nd ed.). English Cambridge University Press.