การจัดการเรียนรู้แบบ MIA เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MIA และเพื่อเปรียบเทียบความ สามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้แบบ MIA หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ MIA 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน (t-test for Dependent Sample) และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for one sample)
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MIA หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบ MIA หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก https://www.makeawit.com
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
เกรียงไกร วงค์จันทร์เสือ. (2554). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอค(MIA). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์(Analytical Thinking). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA). ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
เรียนสิงคโปร์ดอทคอม. (2553). ทำไมต้องรู้ภาษาอังกฤษ. เข้าถึงได้จาก http://www.riansingapore.com//สิงคโปร์/ทำไมต้องรู้ภาษาอังกฤษ.html
วรรษชล พิเชียรวิไล. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดคอนสตัคติวิสต์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุรนารี. 12(1), น. 37-47.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2555). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2558). การวัดและประเมินในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: โรงพิมพ์บริษัทเก็ทกู๊ดครีเอชัน จำกัด
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2563). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก http//www.niets.or.th.
สุภิญญา ยีหมัดอะหลี. (2556). ผลการใช้วิธีสอนแบบ MIA ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อารีย์ วชิรวราการ. (2542). “การวัดและประเมินผลการเรียน”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Bartelletete, L. (1991). Teacher development through reflective teaching from second language teacher education. New York: Cambridge University Press.
Bloom, B.S. (1956). “Taxonomy of Educational objectives: the Classification of Educational Goals”. Handbook 1 : Cognitive Domain. New York: David McKay Company.
Murdoch, G. S. (1986). A more Integrated Approach to the Teaching of Reading, English Teaching Forum 3.