บทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่อง วงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชา เขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Main Article Content

ประกายแก้ว มุณี
ชัชวาล ชุมรักษา
เรวดี กระโหมวงศ์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่องวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชาเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่องวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชาเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่องวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชาเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2/2563 จำนวน 72 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Random Sample Sampling) 
       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่อง วงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชา เขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet สำหรับผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t – test Dependent)
       ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่องวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชาเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ  84.67/80.44 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet เรื่องวงจรพิมพ์ขั้นพื้นฐาน วิชาเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Padlet มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.92 ,S.D. = 0.04)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing E-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพร จันทร์หอม. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.). อุบลราชธานี : วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

นารีรัตน์ ศรีสนิท. (2558). การพัฒนาบทเรียน E-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/buajead-ubru/article/view/62864/51667kb.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/2492/1/นพพร%20จินตานนท์.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2543). นิยามเว็บช่วยสอน Definition of Web-Based Instruction. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิมพ์สิริ พันธ์เตี้ย. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง มรดกโลกในอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย. กรุงเทพฯ : โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563, จาก https://edtech.edu.ku.ac.th/pdffile-e-journal/.pdf

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : เจริญผล.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาซอฟแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิจารณ์ วงศ์พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Matthew; Kathryn; & Varagoor, Gita. (2001). Student Responses to Online Course. Retrieved December 22, 2020, from http://www.thailis.uni.net/eric/detail.nsp