การส่งเสริมความเข้าใจเรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในระดับจุลภาค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทดลองเป็นฐานร่วมกับสื่อแบบจำลอง

Main Article Content

ณรงศักดิ์ รัตนพันธุ์
สุภาพร ดาวัลย์
ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์
ณัฐกร ชีประวัติชัย

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทดลองเป็นฐานร่วมกับสื่อแบบจำลอง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความเข้าใจเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการใช้สื่อแบบจำลอง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
       ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจของผู้เรียนเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการใช้การทดลองเป็นฐานร่วมกับสื่อแบบจำลองหลังเรียน (mean 7.24, S.D. 1.72) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 2.38, S.D. 1.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีร้อยละของผู้เรียนในกลุ่มพัฒนาการระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต้น เป็น 28.79, 31.82, 36.36 และ 3.03 ตามลำดับ ผลของความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทดลองเป็นฐานร่วมกับสื่อแบบจำลอง ช่วยในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากขึ้น ผู้เรียนสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของปัจจัยในชีวิตประจำวันในระดับจุลภาคโดยการนำเสนอตัวอย่าง อีกทั้ง ได้ลงมือปฏิบัติทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยสามารถเชื่อมโยงผลการทดลองที่สังเกตได้กับสื่อแบบจำลอง ซึ่งเป็นตัวแทนความคิดในระดับจุลภาค นำไปสู่การเขียนสมการเคมีในระดับสัญลักษณ์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

กองวิจัยทางการศึกษา. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กองวิจัยทางการศึกษากรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2541). สอนอย่างไรให้คิดเป็น. วิทยาจารย์, 97(3-5), 77-79.

จินดา พราหมณ์ชู, เอกรัตน์ ศรีตัญญู, และลัดดา มีศุข. (2553). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2(1), 32-41.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. Suranaree Journal of Social Science 11(1), 61-74

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). การวัดผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธาวรรณ ภาณุรัตน์. (2553). การเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการเขียนเรียงความภาษาไทย ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ประเมินตนเองโดยแบบตรวจสอบรายการ กับแบบสอบถามปลายเปิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุภาพ ตาเมือง, กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา, และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2560). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะ. CMU Journal of Education. 1(2), 1-15

Johnstone, A.H. (1993). The development of chemistry teaching: A changing response to a changing demand. Journal of Chemical Education, 70(9), 701-705.

Lederman, N. G., F. Abd-El-Khalick, R. L. Bell and R. S. Schwartz. (2002). Views of Nature of Science Questionnaire: Toward Valid and Meaningful Assessment of Learners’ Conceptions of Nature of Science. Journal of Research in Science Teaching, 39(6), 497–521.

Supasorn, S. and Promarak, V. (2015). Implementation of 5E inquiry incorporated with analogy learning approach to enhance conceptual understanding of chemical reaction rate for grade 11 students. Chemistry Education Research and Practice, 16(1), 121-132