การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในสถานการณ์โควิด-19 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Main Article Content

ทรงยุทธ ต้นวัน
รัชตาพร บุญกอง

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ Google Classroom ในสถานการณ์โควิด-19 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  จำนวน  24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google classroom ในสถานการณ์โควิด-19 2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์              
        ผลการวิจัยพบว่า 
       1. บทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google classroom ในสถานการณ์โควิด-19 มีประสิทธิภาพ 80.20/81.80 เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
       2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
       3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google classroomในสถานการณ์โควิด-19 รายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.65 ,S.D.=0.77)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตราการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ฉบับที่ 5) การปฏิบัติงานที่บ้าน.(Work from Home).รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. 1-2.

กรวรรณ สืบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยี มัลติมิเดีย ผ่าน Google Classroom.วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต,11(1), 26-38.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ธนวรรณ เจริญนาน และคณะ.(2562).ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟท์เพาเวอร์พ้อย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย,7(1),381-396.

มัณฑนา นนท์ไชย. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริม คุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่องการร่างภาพจริงเป็นลายเส้นและออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google Classroom สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วัฒน์ พลอยศรี. (2551). การสร้างบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่องเทคโนโลยีก่อนพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา. เทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.