การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3

Main Article Content

รัตนชนก รัตนภูมิ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  และ 2. ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู การวิจัยระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู มีศึกษานิเทศก์ จำนวน 13 ท่าน ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group) และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ตรวจรูปแบบ (Format) การใช้ภาษา (Wording) และนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู  โดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 33 คน
       ผลการวิจัยพบว่า 1.  ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นที่ 1  การสร้างความรู้ความเข้าใจ ขั้นที่ 2  การสังเกต/นิเทศการสอน ขั้นที่ 3  การสะท้อนผลการสังเกต/นิเทศการสอน  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู สรุปได้ดังนี้  1) รูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู มีประสิทธิภาพ  86.92 / 84.55  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ  E1 /E2 เท่ากับ 80/80 2) ครูมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครู หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)  ครูมีความก้าวหน้าในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สูงขึ้น 9.25  และด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สูงขึ้น 14.2  4)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการประเมิน 3 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น 13.08  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น 0.23  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้น 3.46 5) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาอังกฤษ    มีคะแนนเฉลี่ยลดลง ร้อยละ 3.06 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.24

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ งานบริการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ธันยวิช วิเชียรพันธ์และปวีณา จันทร์สุข. (2556). รายงานโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนไทยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

พระมหาอภินันท์ นนฺทภาณี (คำหารพล). (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกสาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2554). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รสิตา รักสกุล. (2557). สัมฤทธิผลของการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้ Active Learning. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ.

วราภรณ์ แสงพลสิทธิ์. (2554). ความต้องการนิเทศการสอนของครูเครือข่ายโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม. กรุงเทพฯ: โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม.

วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรืองและอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน: Supervision of Instruction. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนา ก้อนเชื้อรัตน์. (2551). รายงานการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน เขตตรวจราชการที่ 13 โดยใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลง. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1.

ศิริวรรณ ฉายะเกษตริน. (2552). การนิเทศแบบร่วมพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 3(1), 67-87.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาฐานการศึกษา.

สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, (7)(2), 55-56.

อรสา กุนศิลา. (2556). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2009). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา(1). สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision/.

Acheson, K.A., & Gall, M.D. (1980). Techniques in the Clinical Supervision of Teachers.Preservice and Inservice Applications. 4th ed. New York : Longman.

Alison L., & Bill G. (2009). Supervision as Metaphor. Studies in Higher Education, 34(6), 615-630.

Beyene, T. (1983). The Kind of School Supervision Needs in Developing Countries: Case Study Ethiopia. Dissertation Abstracts International. 43(07), 2168 – A.

Bonwell, C., & Eison, A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington, D.C. : School of Education and Human Development, George Washington University.

Center for Teaching Excellence, University of Kansas. (2000). Teaching Strategies: Active Learning. Retrieved March 15 2517, from http://www.ku.edu/-etc/resources/teachingtips/active.htm.

Cogan, M. (1973). Clinical Supervision. Boston : Houghton-Mifflin.

Cruz. (2000). The Efficacy of the Social Work Model of Supervision for Education. Ed.D. Dissertation. University of Illinois at Urbana-Champaign.

Glickman, Carl D., Gordon, Stephen P., & Ross-Gordon, Jovita M. (1995). Supervision and Instructional Leadership : A Development Approach. 3rd ed. Massachusetts : Allyn and Bacon, Inc.

Gregory,W. F.. (2005). Teacher Supervision Methods in Virginia. Virginia: Commonwealth University.

Goldhammer, Paul R., Richard H. Anderson., & Krajewski R.J. (1980). Clinical Supervision: Special Methods for the Supervision of Teacher. (2nd ed), New York: Holt Rinehart and Winston.

Harris, B.M.Z. (1985). Supervisory Behavior in Education. 2d ed. Englewood Cliff,New Jersy: Prentice-Hall,Inc.

Mayer, R.E. (2004). Should There Be a Three-Strikes Rule Against Pure Discovery Learning? The Case forGuided Methods of Instruction. Americal Psychologist, (59)(1), 14-19.

Moore. (2000). The Supervision and Evaluation of High School Principala as Described by Central Office Administrators. Dissertation Abtracts International. 61(5), 1698-A.

Oliva, P.F., & Pawlas, G.E. (2004). Supervision for today’ s schools. United State of America: Malloy Lithographing, Inc.

Shenker, J. I.; Goss, S. A., & Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s Resource Manual for Psychology : Implementing Active Learning in the Classroom. Retrieved July 5 2517, from http://s.psych/uiuc,edu/~jskenker/active.html.

Williams, F.F. (1994). Clinical Supervision Implementation Strategies and Behavioral Change : An Ethnography of Elementaty School Personal. Dissertation International, (54), 2454 – A.