การนำแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High-Impact Practices) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community)

Main Article Content

อมลวรรณ วีระธรรมโม
สุนันทา สุวรรณะ
ศังกร รักชูชื่น

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์แกนนำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16  2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High-Impact Practices) ของครูวิทยาศาสตร์แกนนำ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์แกนนำ หลังจากดำเนินการครบวงรอบ 3 วงรอบ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2562  ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ตามขั้นตอนของกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) โดยการนิเทศติดตามของศึกษานิเทศก์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้นจำนวน 72   คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 16 คน ครูจำนวน 35 คน ครูวิทยาศาสตร์แกนนำจำนวน 12 คน  จากโรงเรียนเครือข่าย 12 โรง และศึกษานิเทศก์จำนวน 8 คน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 1  คน 
      ผลศึกษาพบว่า 
      1. ครูวิทยาศาสตร์แกนนำมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมของการปฏิบัติวงรอบที่ 3 จะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการปฏิบัติในวงรอบที่ 1 และ 2  ทุกประเด็น เมื่อพิจารณาตามประเด็นที่ครูแกนนำมีการพัฒนาการปฏิบัติในวงรอบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติได้สูงสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ การเขียนอย่างเป็นกิจวัตร การออกแบบบทเรียนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ (สอดคล้องตามตัวชี้วัด) และการทำงานกลุ่ม ระดับดี 
      2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย ระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุดเรียงตามลำดับได้แก่ ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่และกิจกรรมกลุ่ม อันดับที่ 2 ได้แก่ มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ซักถาม และครูกำหนดบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มของผู้เรียนแต่ละคนและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนด 
       3. ครูที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์แกนนำในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่าครูมีความพึงพอใจสูงสุดเรียงตามลำดับได้แก่ การนิเทศช่วยให้ครูมีความกระตือรือร้นในการทำงาน  การนิเทศช่วยให้ครูได้แนวคิดใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการนิเทศช่วยให้ครูได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11. (2555). คู่มือนิเทศภายในโรงเรียน : กลุ่มงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา.

กับพิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

ภานุพงศ์ วงค์น้อย, นัฐจิรา บุศย์ดี. (2560). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มนตรี แย้มกสิกร. (2562). ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ : ความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2545). การนิเทศภายในโรงเรียน.วารสารวิชาการ, 5(8), 26-27

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). เอกสารประกอบการ อบรมการนิเทศการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการ Coaching & Mentoring ปีการศึกษา 2562