การจัดทำแผนการดำเนินงานของสหพันธ์กีฬามวยปล้ำแห่งชาติลาว

Main Article Content

มณีวรรณ จันทวงศา
สุกัญญา เจริญวัฒนะ
นภพร ทัศนัยนา
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดทำแผนการดำเนินงานของสหพันธ์กีฬามวยปล้ำแห่งชาติลาว โดยแบ่งเป็น 3 แผนงานหลัก ได้แก่  แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนานักกีฬา ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสิน แผนงานเครือข่ายเพื่อส่งเสริมและพัฒนากีฬามวยปล้ำ  มีประชากรจากสปป ลาว จำนวน 35 คน จำแนกเป็น กลุ่ม ได้แก่  กลุ่มที่ 1 นักวิชาการ 10 คน  กลุ่มที่ 2 กรรมการตัดสิน 11 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ฝึกสอน 14 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกเข้ากลุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด และประชากรเป็นนักกีฬาระดับชาติและนานาชาติ จำนวน 327 คน ใช้ตารางของเครซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 165 คน  เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  (IOC=.95) และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (ค่า r =.96)  โดยพัฒนาจากแนวคิดทฤษฏีการพัฒนากีฬา  9 เสาหลัก ( SPLISS) ผสานกับเครื่องมือด้านบริหารจัดการ การวิเคราะห์ SWOT/SIPOC และPESTEL Analysis วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย  พบว่า การจัดทำแผนการดำเนินงานของสหพันธ์กีฬามวยปล้ำแห่งชาติลาว ผู้ให้ข้อมูลหลักมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งกับภาพรวมของแผนการดำเนินงาน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  ( 3.99, S.D ± .406)  โดยเห็นด้วยอย่างยิ่งในทุกด้านของแผนการดำเนินการประด็นการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ( = 4.12, S.D ± .749) แผนพัฒนานักกีฬา ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสิน ( = 4.08, S.D ± .712) และแผนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนกีฬามวยปล้ำ ( = 4.02, S.D ± .743) ดังนั้น แผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนากีฬามวยปล้ำ ที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาวงการกีฬามวยปล้ำสู่ความเป็นเลิศของ สปป ลาว จากระดับรากหญ้สู่ระดับนานาชาติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มณีวรรณ จันทวงศา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 เบอร์โทร : +6638102222 ext. 2059-60, 2083, 2117 แฟกซ์ : +6638390045

สุกัญญา เจริญวัฒนะ, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 เบอร์โทร : +6638102222 ext. 2059-60, 2083, 2117 แฟกซ์ : +6638390045

นภพร ทัศนัยนา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 เบอร์โทร : +6638102222 ext. 2059-60, 2083, 2117 แฟกซ์ : +6638390045

เสกสรรค์ ทองคำบรรจง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุขอ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2012). กฎหมายกีฬาและกายกรรม ฉบับปรับปรุง. นครหลวงเวียงจันทน์: สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กฤษณะ บุญประสิทธิ์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ.ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2559). หลักการและแนวทางเขียนเค้าโครงการวิจัย. ขอนแก่นมหาวิทยาลัย.

ณัฐชานิตย์ ธรรมพานนท์. (2556). แนวทางในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศสถาบันการพลศึกษา.วิทยานิพนธ์ (วท.ม.). มหาวิทยาลัยบูรพา.

หนึ่งฤทัย สระทองเวียน. (2561). รูปแบบการพัฒนากีฬาฟุตบอลหญิง ของประเทศไทย.วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2561

ธงชัย สันติวงษ์. (2527). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช

พฤกษศาสตร์ ลำพุทธา. (2557). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาจักรยานเพื่อความเป็นเลิศของสมาคมกีฬา จังหวัดศรีสะเกศ. มหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย และการกีฬาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มโนลม พินิด. (2011). บทสรุปประจำปีสหพันธ์กีฬามวยปล้ำแห่งชาติลาว. สาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว: กรมกีฬาระดับสูง.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2554). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

เอกกมล เอี่ยมศรี. (2561). หลักสูตรการ Advanced Strategy Plan Evaluation and KPI. บริษัท ธนารักษ์พัฒนา สินทรัพย์ จำกัด

จุฑามาศ หอมกลิ่น. (2557). แนวทางการพัฒนากระบวนการวางแผนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2

Bridges, J., & Roquemore, L. (2004). Management for athletic/ sport administration (4th ed.). Georgia: ESM Books.

Dessler. (2004). A Framework for Human Resource Management. New York : Prentice Hall.

De Bosscher, V., De Knop, P., & Van Bottenburg, M. (2007). An international comparison of elite sports policies in six nations. The Flemish/ Dutch Journal of Sports Medicine and Sports Science, 2, 20-26.

Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. (Trans. C Storrs). London: Pitman.

Green, M., & Houlihan, B. (2008). Comparative elite sport development: Systems, structures and public policy. Great Britain: Elsevier.

Koontz Harold and Weihrich Heinz. (1990). Elements Desministraction : Enfoque Naucalpan.

Mexico : McGraw-Hill Interamericana de Mexico.

Kotler, P. (1984). Marketing management: Analysis, planning, and control. Englewood Cliffs, NJ:
Prentice-Hall.