รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน -

Main Article Content

อมรประภา ชุมประทีป
สุพรรณี สมนญาติ
ราชันย์ บุญธิมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 308 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยตัวแปรการพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมา คือ  นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้  คุณภาพผู้เรียน  และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 2. ปัจจัยที่มิอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน  ได้แก่ ลักษณะองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.50 แต่ไม่มีอิทธิทางตรงต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ -0.02 และลักษณะสภาพแวดล้อมยังได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมโดยมีลักษณะบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ  1.14    และลักษณะบุคคล มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมส่งผ่านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.44  และ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารไม่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ -3.34  3.  รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติไคสแควร์  มีค่า 43.62 ที่ p-value =1.000 เมื่อพิจารณา / df  เท่ากับ 92 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเชิงสมบูรณ์ ค่า GFI เท่ากับ 0.98 ค่า AGFI เท่ากับ 0.97 ส่วนค่า RMSEA เท่ากับ 0.000 และค่า CN เท่ากับ 894.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อมรประภา ชุมประทีป, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษษ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุพรรณี สมนญาติ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

อาจารย์ ดร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 

ราชันย์ บุญธิมา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

อาจารย์ ดร.สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

จิตสุดา เสมอศรี. (2558). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”, วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 15(ฉบับพิเศษ), 279-290.

ชิดชม เจนตลอด. (2560). “รูปแบบการบริหารองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลในประเทศไทย”, วารสารสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกาญจนบุรี. 16(1), 185-198.

ชูเกียรติ วิเศษเสนา. (2553). “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเครือข่ายศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 21(1), 95-106.

ชญานิภา ศรีวิชัย. (2555). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2(ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 221-232.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคกลางของประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (2550) “การศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นพหุระดับปัจจัยภาวะผู้นำปัจจัยกลุ่ม สาระการเรียนรู้และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อเครือข่ายการแลกเปลี่ยนทางสังคมในที่ทำงานและตัวแปรผลทางด้านจิตพิสัยของหัวหน้ากุล่มสาระการเรียนรู้และครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(1), 50-64.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.(2551). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สกสค.

พิไลวรรณ แตงขาว และคณะ. (2556). “การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. 7(2), 82-95.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(2), 141.

เพ็ญพักตร์ ภู่ศิลป์. (2557). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต ระดับประถมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฎ. (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

รังสรรค์ อ้วนวิจิตร.(2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วรรณดี เกตแก้ว. (2552). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้. (ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2560). “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยองค์การกับประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม 4 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(1), 81-88.

สจีรัตน์ แจ้งสุข. (2559). “รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน”. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. 6(2), 33-42.

สุวิชา วิริยมานุวงษ์. (2554). บทบาทและการมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาในประเทศที่คัดสรร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัดภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2556). รายงานการพิจารณานโยบาย ยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการศึกษาเอกชนให้เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size research activities. Educational and Phychological Measurement. 30(3), 607-610.

Lunenburg, F.C., & C. Ornstein, A.C. (2004). Educational Administration: Concepts and Practices. 4th ed. Belmont, CA: Wadsworth/Thomson Learning.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2006). Management. 8th ed. United States: Prentice Hall.

Steers, Richard, M. (2005). Organizational Effectiveness. Goodyear Publishing Company, Inc: Santa Monica California.

Virgil, Freeman. (2011). Education leadership exploring personality styles: disc "HIGH I" and COLORS. Review of Higher Education and Self-Learning, Volume: 4, Issue: 11.