การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

รังสิยา นรินทร์
ประกอบ ใจมั่น
สายสวาท เกตุชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้  เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา  4) กระบวนการจัดการเรียนรู้  5) การวัดประเมินผล 6) บทบาท ครู นักเรียน ผู้ปกครอง  และ กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนแนวคิด  2) การศึกษาค้นคว้า  3) การวางแผนจัดการเรียนรู้  4) การสร้างประสบการณ์   5) การประเมินผล   6) การนำเสนอ  


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านได้ตรวจสอบคุณภาพ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้ โดยการนำไปทดลองนำร่องที่โรงเรียนช้างกลางประชานุกูล กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2/2561 จำนวน 30 คน พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยคำนวณค่าดัชนีประสิทธิภาพ (E1/E2) มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(70/70) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก3. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า 1) ประสิทธิผลของรูปแบบโดยค่าดัชนีประสิทธิผล(I.)สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3) นักเรียนมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  4) นักเรียนมีความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ  5) ครู ผู้บริหารมีความเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ประกอบ ใจมั่น, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เลขที่ 1 หมู่ 4  ต.ท่างิ้ว  อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปณ. 80280
Tel: 075-392-238, Fax: 075-392-239

สายสวาท เกตุชาติ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เลขที่ 1 หมู่ 4  ต.ท่างิ้ว  อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปณ. 80280
Tel: 075-392-238, Fax: 075-392-239