การพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง

Main Article Content

Udomgarn Changkhaokam
Narinchai Patanapongsa

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ การวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้


          ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปางกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 คือ การขอประชุมระดมความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมของผู้สอนนาฏศิลป์ล้านนาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ล้านนา ปราชญ์ชาวบ้าน และนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง จำนวน 20 คน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา จำแนกเป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ และปัจจัย ภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การได้รับตัวแบบที่เหมาะสม อิทธิพลของสื่อ/เทคโนโลยี ซึ่งจากผลการศึกษาในระยะที่ 1 ผู้วิจัยได้นำมาสร้างเป็นรูปแบบการพัฒนา และออกแบบกิจกรรมการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา


          ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ในการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 80 คน และกลุ่มควบคุม 80 คน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนกลุ่มทดลองทั้งก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกล่าวคือ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาฯ มีความรู้และความซาบซึ้ง สูงขึ้น และสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาฯ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนา สามารถพัฒนาได้ด้วยรูปแบบและกิจกรรมการพัฒนาที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น

Article Details

How to Cite
Changkhaokam, U., & Patanapongsa, N. (2015). การพัฒนาความรู้และความซาบซึ้งในนาฏศิลป์ล้านนาของนักเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 16(30), 15–27. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/58382
บท
Research Article

References

[1] ชัชาภา อ้อพงษ์. (2555). อิทธิพลของภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีในหมู่ผู้ใช้เว็บไซต์ป๊อบคอร์นฟอร์ทูดอทคอม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร.

[2] ธีรยุทธ ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อน ล้านนา. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์.

[3] นงเยาว์ กาญจนจารี. (2533). ดารารัศมี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทรีดีการพิมพ์.

[4] นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เน้นการเจาะจงกลุ่ม. กรุงเทพฯ: รั้วเขียว.

[5] ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

[6] สุรพล ดำริห์กุล. (2542). ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมโครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ: คอมแพคชรินท์ จำกัด.

[7] สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2556). อาเซียน รู้ไว้ได้เปรียบแน่. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

[8] อุดม เพชรสังหาร. (2551). การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

[9] Cobb, S. (1976). Social Support as a Moderator of Life Stress. Psychosomatic Medicine. 38(5), 77-78, 300-314.

[10] Gottlieb, B. H. (1985). Social Support as a Moderator of Life Stress. Psychosomatic Medicine. 38(3), 300 - 313.

[11] Naisbitt, J. (1994). Global Paradox by John Naisbitt. William Morrow& Co.

[12] Kahn, R. (1979). Aging and Social Support. In M. W. Riley, Aging from Birth to Death: An Interdisciplinary Perspective (pp.72-92). Boulder, Co: Westview.

[13] Ormrod, J. E. (1999). Human Learning. 3rd Edition. New Jersey: Prentice-Hall.