แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ในชุมชน บ้านแขนน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

รัชฎา จิรธรรมกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ในชุมชนบ้านแขนน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมความถี่ของนักท่องเที่ยวในชุมชนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวม และความภักดีของนักท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมในชุมชนงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research) โดยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.9520 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test วิธีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ค่าการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และในเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน คนในชุมชน นักท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยว จำนวน 8 คน ผลจากการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน มีความถี่ในการท่องเที่ยวแตกต่างกันสภาพแวดล้อมทางกายภาพและปฏิสัมพันธ์ชุมชนความถี่ในการท่องเที่ยว ความภักดี มีผลต่อ ความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวในชุมชนบ้านแขนนความพึงพอใจรวมมีความสัมพันธ์กับความภักดีต่อการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านแขนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
จิรธรรมกุล ร. (2016). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ในชุมชน บ้านแขนน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(31), 3–17. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/58346
บท
Research Article

References

[1] Jittangwattana, Boonlert. (2005). Sustainable Tourism Development. Bangkok : Press and Design.

[2] Kueduang, Juntira. (2005). The Conservation of Phum Reang Old Urban Community, Surat Thani Province. Retrieved April 28, 2014, from https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7968

[3] Lotongkum, Teerapun. (2004). Customer Loyalty. Retrieved April 25, 2014, from On-sombun Kritsadaa, from https://www.bus.rmutt.ac.th/journal/pdf/vol4-no1-09.pdf

[4] Meejinda, Panisa. (2010). Comsumer Behavior. Bangkok : Baan Sayreerat.

[5] Sirirassamee, Thaweep. (2004). Research Associate Editor: Tourism. Bangkok : The Thailand Research Fund.

[6] Tong-on, Wirot. (2009). Moobaan Wattanatamglaang Ban Ka-nan, Thalang District, Phuket Province, Pi-pitpan Meecheewit. Retrieved April 28, 2014, from OKNATIONBLOG from https://www.oknation.net/blog/tour-phuket/2009/06/01/entry-1

[7] Wongwanich, Wanna.(1996). Geography of Tourism. Bangkok : Department of Geography, Faculty of Social Sciences, Srinakharinwirot University.

[8] Yamane, Taro. (1970). Introduction to Statistics. New York : Harper & Row.

Interview

[9] Jariyalerpong, Tanyarat. Position: Community Leader, Public Relations and Finance of Ban Ka-nan Community, by interview on Febuary 17, 2014.