การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคยปลาสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของชาวบ้านหมู่ที่ 12 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วารีพร ชูศรี
สุดาพร ทองสวัสดิ์
ฐิติรัตน์ สัตย์ซื่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเคยปลาในท้องถิ่นและ 2) เพื่อพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์เคยปลาของชาวบ้านหมู่ที่ 12 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยจัดให้มีกิจกรรมกระบวนการสัมภาษณ์สังเกต เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลประวัติความเป็นมา และขั้นตอนการผลิตเคยปลา รวมถึงมีการจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันโดยวิธีการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการขอเครื่องหมายรับรอง อย. การอบรมปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีในการผลิต เพื่อทำแผนปรับปรุงสุขลักษณะ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์


          จากการวิจัยและการร่วมกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ พบว่า การผลิตเคยปลาเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏเด่นชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีเพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาและทำให้ทราบถึงบริบทการผลิตเคยปลาในปัจจุบันทั้งในด้านการผลิตและสถานที่ เกิดองค์ความรู้ในด้านการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ องค์ความรู้ในด้านการผลิตเคยปลา วัตถุดิบที่ใช้และขั้นตอนในการผลิตเคยปลาอย่างละเอียด


          นอกจากนี้โครงการวิจัยยังส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตให้ดีขึ้นในด้านสถานที่ สิ่งแวดล้อม และสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ผลิตที่มีผลต่อการผลิต ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการวิจัยผู้ผลิตเคยปลาไม่สามารถยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนได้เนื่องจากส่วนผสมของเคยปลาไม่ตรงกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอยู่ ขณะนี้ผลิตภัณฑ์เคยปลาได้ยื่นขอเครื่องหมาย อย. ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงรอผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ

Article Details

How to Cite
ชูศรี ว., ทองสวัสดิ์ ส., & สัตย์ซื่อ ฐ. (2020). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคยปลาสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของชาวบ้านหมู่ที่ 12 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 21(40), 65–77. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/243622
บท
Research Article

References

Sudaduang Ruengrujira. (1998). Marketing Principles. 8th ed. Bangkok: Praguypreuk.

Sukanya Maikruakaew & Benjamas Chuainui. (2004). Food and Beverage Development Project Case Study Curry Paste Product Baan Pho Phra Sadet Farmers Group 67/18 Moo 1, Pho Sadet Sub-district, Muang District, Nakhon Si Thammarat Province. Research Project. Rajabhat Surat Thani University.

Teerawut Aekawut. (2000). Research Methods in Behavioral and Social Sciences. Rajabhat Ubon Ratchathani University.

Thai Industrial Standards Institute. (2013). Announcement of Criteria and Conditions for Certification of Community Product Quality. Retrieved from http://tisi.go.th/website/thaicommunity/cps_history

Thai Industrial Standards Institute. (2013). Guidelines for Certification of Quality of Community Product Standards. Bangkok: Ministry of Industry.

Wachira Singkong. (2015). Manufacturing Valuation for the Standards for Community Products in Kamphaeng Phet Province. RMUTP Research Journal, 119-130.