การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบล บ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Main Article Content

Jiratach Daosomboon

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ และเพื่อประเมินผลการสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ Chi-square


          ผลการวิจัยสรุปว่า แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ 3 แนวทางคือ ลดปริมาณดินเพื่อให้น้ำหนักเบา ลดเวลาในการผลิต และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่เชื่อมโยงถึงที่อยู่อาศัย จากนั้นวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดย 1) การหาข้อมูล 2) การสร้างความคิดใหม่ 3) การประเมินความคิด 4) วางแผนปฏิบัติ เมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตจริง คือ กระเบื้องดินเผาด้วยพิมพ์และภาชนะในชีวิตประจำวันที่มีน้ำหนักเบา หลังทดลองผลิตชิ้นงานพบว่า ภาชนะในชีวิตประจำวันที่มีน้ำหนักเบาไม่แข็งแรง แตกหักง่ายไม่คุ้มค่ากับการผลิตเพื่อจำหน่าย สำหรับกระเบื้องดินเผาด้วยพิมพ์ เพิ่มมูลค่าด้วยประโยชน์ใช้สอยด้วยการนวดเท้า เพื่อให้ความรู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ โดยต้นทุนเฉลี่ยผลิตภัณฑ์กระเบื้องทางเดินสำหรับนวดเท้าน้อยกว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม และขายได้ในราคาสูงกว่า ด้านความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สองอันดับแรกคือ ความสะดวกสบายในการใช้ และด้านราคาที่เหมาะสม

Article Details

How to Cite
Daosomboon, J. (2021). การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบล บ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 22(42), 19–33. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/239874
บท
Research Article

References

Department of Business Development. (2019). Value Creation Handbook. Retrieved from https://www.dbd.go.th/DBD_WEB_2018/more_news.php?cid=1574

Krabuansang, S. (1996). Thai Encyclopedia for Youth Vol. 21. Bangkok: Thai Encyclopedia for Youth Project.

Leesuwan, V. (2003). Thai Folk Crafts. Bangkok: Amarin Printing.

Mitchob, C. (2009). The Direction of Quality Development and Value Added of Thai Agricultural Products. Journal of Economic and Social, 46(1), 30-43.

Puntasri, P. (2019). Creative Pottery: Case Study of Pottery with Havana Wood and Liana Plant in Songkhla Province. Art and Architecture Journal, Naresuan University, 9(1), 13-24.

Taikham, S. & Sungrugsa, N. (2015). The Development of Creative Product Model to Value-Added of the Small and Micro-Community Enterprises in Ratchaburi Province. Veridian E-Journal Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and Arts, 8(1), 606-632.

Von Oech, R. (1993). A Kick in the Seat of the Pants. Bangkok: SE-Education.