การพัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยประยุกต์ใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษาการฟ้อนไทยทรงดำบ้านดอนทอง ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เริงวิชญ์ นิลโคตร
นิภาวรรณ เจริญลักษณ์
และ คณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเรียนรู้ชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยประยุกต์ใช้บริบทเป็นฐาน ซึ่งชุมชนที่ดำเนินการคือการฟ้อนไทยทรงดำบ้านดอนทอง ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีสมาชิกกลุ่มฟ้อนไทยทรงดำและผู้นำชุมชน เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา กระบวนการและขั้นตอนที่สำคัญประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมพื้นที่ศึกษา (2) การประเมินทุนทางสังคมของชุมชน (3) การประเมินสถานการณ์ และการดำเนินโครงการเพื่อการถอดบทเรียนและจัดการความรู้สำหรับพัฒนาแนวทางสุขภาวะชุมชน (4) การสังเคราะห์ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของพื้นที่ในการพัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยใช้บริบทเป็นฐาน (5) การคืนข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมาย และ (6) การสรุปและนำเสนอแนวทางการพัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยใช้บริบทเป็นฐาน


ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยประยุกต์ใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลักคือ การสืบค้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน การพัฒนากิจกรรมบนฐานของสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน กิจกรรมการพบกันและเสริมศักยภาพกลุ่ม กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางกาย และกิจกรรมการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะชุมชน ประกอบด้วย 5 ด้านคือ (1) การยอมรับมุมมองร่วมกัน (2) การมีประโยชน์และความสนใจร่วมกัน (3) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (4) การปฏิสัมพันธ์ด้านการเรียนรู้และการจัดการความรู้ร่วมกัน และ (5) การประยุกต์ใช้บริบทของชุมชน การสรุปแนวทางการดำเนินงานสุขภาวะของชุมชนสามารถอธิบายได้ว่าการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชนต้องดำเนินการภายใต้การมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นของชุมชนการมีแกนนำจิตอาสาในการบริหารจัดการ การสนับสนุนและความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย  การดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมจากชุมชน และการมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาวะชุมชน

Article Details

How to Cite
นิลโคตร เ., เจริญลักษณ์ น. ., & คณะ แ. (2022). การพัฒนาสุขภาวะชุมชนโดยประยุกต์ใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษาการฟ้อนไทยทรงดำบ้านดอนทอง ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(43), 94–110. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/228962
บท
Research Article

References

Chindawattana, A. et al. (2008). Health Promotion in Thailand. Bangkok : Moo Chao Ban.

Chuengsatiensup, K. et al. (2011). The Way of Community : 7 Tools that Make Community Work Easy, Effective and Fun. Nonthaburi : Suksala.

Department of Provincial Administration. (2018). Handbook for Operating Guidelines in Accordance with the Office of the Prime Minister’s Regulations on the Development of Quality of Life at the 2018. Bangkok : Ministry of Interior.

Kamsrichan, W., Nilkote, R. & Chantawong, K. (2009). Strength Communities Management Participation. Bangkok : P.A. Living.

Payomyam, S. (2013). Psychology in Community Work. Bangkok : Bangkok-Contec Intertrade Co., Ltd.

Pitayarangsarit, S. et al. (2018). Non-Communicable Diseases Prevention and Control Operations (NCDs). Nonthaburi : Division of Non-Communicable Diseases.

Sirasunthorn, P. (2009). Community of Practice (CoP). Bangkok : Chulalongkorn University Press.

Sriratanaball, A. (2017). Health Promotion and Community Empowerment. Bangkok : Office of the Health Promotion Fund.

The Secretariat of the House of Representatives. (2017). Public Health Provisions According to the Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. Bangkok : the Secretariat of the House of Representatives

Wasi, P. (2011). New Management for Community Health System Development. In Srivanichakorn, S. & Pratoomnun, S. (Eds.). New Perspectives, New Management in the Community Health System. Bangkok : Sahamit Printing and Publishing.

Wasi, P. (2017). Strong Social Strategy. Nonthaburi : Office of the National Health Commission.

Yuthavong, Y. (2015). Reform the Health System of Life, Reform of Democratic Consciousness. Nonthaburi : National Health Commission Office.