บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

              งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของบทบาท เปรียบเทียบบทบาท และหาแนวทางการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตพื้นที่ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรจำนวน 387 คน และเชิงคุณภาพ ประชากรจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการทดสอบค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือ การส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในชุมชน และบทบาทของผู้นำท้องถิ่น 2) เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะในการอยู่อาศัย มีผลต่อบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน สถานภาพ และระดับการศึกษา ไม่มีผล   3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินงานต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ ควรมีการจัดศูนย์บริการการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในแต่ละพื้นที่ รองลงมา คือ ควรสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้กับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละหมู่บ้าน มีการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง และควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนบริการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว   

Article Details

บท
Research Article

References

Banyen Chantanawat. (2002). Tourism and Its Affects on the Thai Yai Community: the Case Study at Tham Lod Village, Pang Mapha District, Mae Hong Son Province. Graduate School, Rajabhat Institute Chiang Mai.

Bunga Wachirasakmongkol. (2014). Instructional Leadership. Naresuan University.

Malinee Srimaitree. (2017). Model and Potential Development of Community Enterprises in the Cultural Tourism Based on Local Identity to Tourists in Ubon Ratchathani Province. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 11(2), 53–65

Office of the National Economic and Social Development Board. (2011). National Economic and Social Development Plan No.11 (2012–2016). Bangkok: The Prime Minister’s Office.

Patcharin Jungprawate. (2017). Community Needs in Developing Potential for Conservation Tourism Management: A Case Study of Klong Suan 100 Years Old Market, Bang Bo District, Samut Prakan Province. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 12(1), 36–49.

Ratchada Jirathamakul. (2016). The Development Guidelines of Creative Cultural Community–Based Tourism of Ban Ka–nan Community, Thalang District, Phuket Province. Journal of Cultural Approach, 17(31), 3–17.

Sasikant Kullawanich. (2008). Community Tourism Promotion : A Case Study of Takua Pa Municipality, Amphoe Takua Pa, Changwat Phang Nga. Independent Study. Department of Public Administration, Faculty of Humanities and Social Sciences Khon Kaen University.

Therdchai Choibamroong. (2009). Conservation of Tourist Attraction. Bangkok: National Institute of Development Administration.