เพลงทับในรูปแบบการแสดงหนังตะลุง : กรณีศึกษานายทับในคณะของนายหนัง ตะลุงที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ

Main Article Content

ผกามาศ ชัยบุญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องเพลงทับหนังตะลุง : กรณีศึกษานายทับในคณะของนายหนังตะลุงศิลปินแห่งชาติใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยดนตรีวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางดนตรีที่เกี่ยวข้องกับทับในสังคมและวัฒนธรรมของภาคใต้ลักษณะเฉพาะทางดนตรีของเพลงทับหนังตะลุง และความสัมพันธ์ระหว่างการบรรเลงทับกับการแสดงหนังตะลุง โดยศึกษาจากนายทับในคณะของนายหนังที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติจำนวน 6 คณะ ผลการวิจัยพบว่า ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ในกลุ่มกลองกอบลิท (Goblet drum) ทางภาคใต้ใช้ประกอบการละเล่นลิมนต์ โนรา และหนังตะลุง ทับที่ใช้บรรเลงประกอบหนังตะลุงมีจำนวน 2 ใบ เรียกชื่อว่าทับหน่วยผู้และทับหน่วยเมีย ลักษณะทางกายภาพของทับมี 2 ส่วน คือ หน้าทับและหุ่นทับ ในทางปฏิบัติมีการใช้เสียงทับบรรเลงจำนวน 5 เสียง คือ ฉับ เทิงหน่วยผู้ เทิงหน่วยเมีย ติ๊ด และทึด
          ด้านลักษณะเฉพาะทางดนตรีพบว่าจังหวะทับแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ จังหวะตำเหนิน จังหวะเชิดรูปเฉพาะ และจังหวะขับบท ดำเนินจังหวะโดยการซ้ำและแปรลักษณะจังหวะ มีการใช้ลักษณะจังหวะเฉพาะแบบ และการใช้จังหวะขัด แบ่งการใช้เสียงทับเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงหลัก ประกอบไปด้วยเสียงฉับ เทิงหน่วยผู้ และเทิงหน่วยเมีย กลุ่มเสียงรอง ประกอบไปด้วยเสียงติ๊ดและทึด การบรรเลงส่วนใหญ่ใช้เสียงสูงและเสียงต่ำสลับกันตลอดทั้งเพลง โดยพบว่าการบรรเลงทับมีความสัมพันธ์กับการแสดงด้านการบรรเลงประกอบพิธีกรรม บรรเลงประกอบบทเพลง บรรเลงประกอบการขับบท และบรรเลงประกอบบทบาทในฉาก

Article Details

How to Cite
ชัยบุญ ผ. (2016). เพลงทับในรูปแบบการแสดงหนังตะลุง : กรณีศึกษานายทับในคณะของนายหนัง ตะลุงที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(32), 44–58. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/72393
บท
Research Article

References

[1] Elaine, Lee. (2006). Ethnic Musical Instruments of Malaysia. Selangor Darul Ehsan, Malaysia : Win Publication Sdn. Bhd.

[2] Figure 1. Conceptual of Framework. Adapted from Thub Rhythmic Patterns in Shadow Puppet Performances : The Case of Thub Musicians Performing in the Ensembles of National Artist Puppeteers [Master’s thesis] (p.7), by P. Chaiboon, 2016, Thailand. Mahidol University.

[3] Figure 2. Comparison of goblet and thub. Adapted from Thub Rhythmic Patterns in Shadow Puppet Performances: The Case of Thub Musicians Performing in the Ensembles of National Artist Puppeteers [Master’s thesis] (p.38), by german-toasting-glasses.com and P. Chaiboon, 2016, Thailand. Mahidol University.

[4] Figure 3. Physical of thub. Adapted from Thub Rhythmic Patterns in Shadow Puppet Performances : The Case of Thub Musicians Performing in the Ensembles of National Artist Puppeteers [Master’s thesis] (p.43), by P. Chaiboon, 2016, Thailand. Mahidol University.

[5] Hnuthong, Udom. (1981). Music for Accompanying the Nang Talung. In U. Hnuthong (Ed.), Southern Thai Folk Music. (pp. 42-52). Bangkok : The Institute for Southern Thai Studies.

[6] Leangsomboon, Wirat. (2001). Pleang Hom Rong Nora, Traditional Music for Native Dance in Nakhon Si Thammarat Province, Thailand. Thesis, Master of Art (Music), Mahidol University.

[7] Pancharoen, Natcha. (2008). Form and Analysis (4th ed.). Bangkok : Katekarat Press.

[8] Petchkaew, Chuan. (2003). Nang Talung in Thailand. Surat Thani : Faculty of Education, Suratthani Rajabhat University.

[9] Phongphaibun, Suthiwong. (n.d.). Nang Talung. Songkhla : Southern Region Language and Cultural Center.

[10] Pidokrajt, Narongchai. (2012). Ethnomusicology. Nakhon Pathom : n.p.

[11] Satsanguan, Ngampit. (2000). Principle of Cultural Anthropology. Bangkok : Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.

[12] Sreesamuth, Surasit. (2006). The Principal Songs in Limon, a Shamanistic Ritural at Songkhla Province. Thesis, Master of Art (Music), Mahidol University.

Interview

[13] Oramut, Chin. (2015, July 6). National Artist of the Performing Arts (Nang Talung) in 1989.

[14] Subsin, Watee. (2015, July 29). Vice Director, Research and Development Institute of Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.