วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ : กรณีศึกษา สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงปริมาณ เรื่อง “วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ : กรณีศึกษา สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายใต้วัฒนธรรมการทำงานของสำนักงานเขตจอมทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้จากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๕๐ คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) โดยการทำตารางไขว้ (Cross Tabulation)ใช้สถิติ Chi-Square Tests ในการวิเคราะห์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman Rank-OrderCorrelation Coefficient) หาทิศทางของความสัมพันธ์ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๕๗.๓ เป็นหญิง ร้อยละ ๓๙.๓ มีอายุระหว่าง ๔๑ – ๕๐ ปี ร้อยละ ๖๐.๐มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ ๕๒.๐ มีสถานภาพสมรส ร้อยละ ๓๕.๓ มีอายุงาน ๑๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๘๒.๐ เป็นข้าราชการ และร้อยละ ๓๔.๗ มีเงินเดือนต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ บาทผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อวัฒนธรรมองค์การ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างมากกับการดำเนินงานขององค์การภายใต้วัฒนธรรมองค์การที่ให้ความสำคัญกับบุคลากร และวัฒนธรรมองค์การที่เน้นความสำคัญกับผลลัพธ์ของงาน ( = ๓.๗๐ และ = ๓.๕๑) ส่วนวัฒนธรรมองค์การที่มุ่งรักษาสถานภาพเดิมขององค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่มุ่งการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยวัฒนธรรมองค์การในลักษณะนี้ในระดับ ปานกลาง ( = ๓.๓๗ และ = ๓.๓๕) โดยผลการทดสอบสมมติฐานทั้ง ๔ ข้อ สรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรวัฒนธรรมองค์การที่เน้นการทำงานเป็นทีม และวัฒนธรรมองค์ที่มุ่งผลลัพธ์ของงานจะทำให้การบริหารจัดการองค์การมีประสิทธิภาพมากกว่าวัฒนธรรมองค์การที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรน้อย เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ส่วนวัฒนธรรมองค์การที่มุ่งรักษาสถานภาพเดิมขององค์การ จะทำให้การบริหารจัดการองค์การมีประสิทธิภาพมากกว่าวัฒนธรรมองค์การที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรน้อย ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้สำหรับข้อเสนอแนะคือ ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพควรส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์การที่ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมและการมุ่งผลลัพธ์ของงานเป็นสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาในการปฏิบัติ
Article Details
How to Cite
เอมดวงดี ส. (2012). วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ : กรณีศึกษา สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. Journal of Cultural Approach, 12(22), 3–15. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/1533
Section
Research Article
Proposed Creative Commons Copyright Notices
1. Proposed Policy for Journals That Offer Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication with the work simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).
Proposed Policy for Journals That Offer Delayed Open Access
Authors who publish with this journal agree to the following terms:
- Authors retain copyright and grant the journal right of first publication, with the work [SPECIFY PERIOD OF TIME] after publication simultaneously licensed under a Creative Commons Attribution License that allows others to share the work with an acknowledgement of the work's authorship and initial publication in this journal.
- Authors are able to enter into separate, additional contractual arrangements for the non-exclusive distribution of the journal's published version of the work (e.g., post it to an institutional repository or publish it in a book), with an acknowledgement of its initial publication in this journal.
- Authors are permitted and encouraged to post their work online (e.g., in institutional repositories or on their website) prior to and during the submission process, as it can lead to productive exchanges, as well as earlier and greater citation of published work (See The Effect of Open Access).