การศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป โดยมีประชากร คือ ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 46 ข้อ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ความรู้ในวิชาเฉพาะ ด้านที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านที่ 3 การทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านที่ 4 วินัยในการปฏิบัติงาน ด้านที่ 5 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านที่ 6 บุคลิกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.79, σ = 0.43) โดยนักศึกษามีความโดดเด่นในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (µ = 4.94, σ = 0.42) รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพ (µ = 4.88, σ = 0.33) ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (µ = 4.87, σ = 0.34) ด้านวินัยในการปฏิบัติงาน (µ = 4.83, σ = 0.39) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน (µ = 4.70, σ = 0.53) และด้านความรู้ในวิชาเฉพาะ (µ = 4.53, σ = 0.53) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
กฤษณา ชินสิญจน์. (2565). คุณลักษณะของนิสิตฝึกสอนตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา. วารสารการวัด ประเมินผล วิจัย และสถิติทางสังคมศาสตร์, 3(1), 43 – 53. https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.5
เทอดทูน ค้าขาย, เกษฎา สาลา และ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 33 - 46. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/181711
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี พ.ศ. 2563. (2563, 15 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 150 ง. หน้า 13 - 14.
ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. (2564, 9 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 298 ง. หน้า 71. http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/94
ประภาศ ปานเจี้ยง. (2566). อุดมการณ์ความเป็นครู: บ่มเพาะ ผลิต และปลดปล่อยสู่เสรีภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 34(1), 20-31. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/251685
ปริญญา บัญญัติ. (2564). การสร้างแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]. DSpace at Uttaradit Rajabhat University,
พระมหาสกุล มหาวีโร. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 76 – 94. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/206
ภควัต หม้อศรีใจ, เกวลิน ขจรรัตนวัฒน์ และ รวิศ ทะแสนเทพ. (2566). การศึกษาความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อคุณภาพนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป. [เอกสารไม่ตีพิมพ์]. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนวิจัยตามโครงการพัฒนาผู้วิจัย ด้านการเรียนการสอนของวิทยาลัยนาฏศิลป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.
ภักดี โพธิ์สิงห์ และ กมลทิพย์ ตรีเดช. (2562). รูปแบบการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจิตสำนึก ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. https://shorturl.asia/fWVSB
ภานุพันธุ์ ขันธะ. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository, http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59706
รัตนะ บันสนธ์. (2551). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. คำสมัย.
วิทยาลัยนาฏศิลป. (2566). คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). วิทยาลัยนาฏศิลป.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2552). บทบาทหน้าที่ของครูพี่เลี้ยงในระหว่างการปฏิบัติการสอนของนิสิตครู. วารสารวิจัย มข. 14(12), 1120 - 1131. https://rtt.kku.ac.th/ejournal/ pa_upload_pdf/268890.pdf
วรรษกร คำพงพีร์ และ เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2560). การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(4). 175 - 185. https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1579
วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตร จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิรดา ทองเชื้อ และ นฤมล ศราธพันธุ์. (2557). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอน สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(2), 193 - 202. https://pirun.ku.ac.th/~fedundl/document/research/0001.pdf
ศิรประภา พฤทธิกุล. (2557). การสร้างกระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวชิาการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(1), 75 -88.
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/3411
สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 63 - 76. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/edu/article/view/3038
สิริรัตน์ หอมชื่นชม. (2558). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สภาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2578. พริกหวานกราฟฟิค.
อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล. (2561). การออกแบบการเรียนการสอน: ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู.วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10 (ฉบับพิเศษ), 107 - 115. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/121153