การศึกษาความต้องการจำเป็นของการนิเทศการสอนของครูกลุ่มการศึกษาทั่วไปในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยนาฏศิลป ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการนิเทศการสอนของครูกลุ่มการศึกษาทั่วไปในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยนาฏศิลปในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าภาควิชาศึกษาทั่วไป หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอนจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 168 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันของการนิเทศการสอน และด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการวิพากษ์วิจารณ์ (PNImodified = 0.414) ซึ่งข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ วิทยาลัยนำผลการพิจารณาทบทวนการดำเนินการนิเทศการสอนระหว่างผู้นิเทศ และครูไปพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการนิเทศการสอนครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (PNImodified = 0.457) รองลงมา คือ ด้านการประชุมหลังจากการสังเกตการสอน (PNImodified = 0.381) ซึ่งข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ผู้นิเทศและครูของวิทยาลัยร่วมกันวางแผนสำหรับการสังเกตการสอนในครั้งต่อไปเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนครูอย่างต่อเนื่อง (PNImodified = 0.423) และด้านการวิเคราะห์ และการวางแผน (PNImodified = 0.366) ซึ่งข้อที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ผู้นิเทศของวิทยาลัยสรุปผลการสังเกตการสอนเพื่อนำเสนอต่อครูในรูปของความเรียง ร้อยละ กราฟ แผนภูมิ หรือแผนผัง (PNImodified = 0.436) ตามลำดับ ทั้งนี้ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการนิเทศการสอนครูการศึกษาทั่วไปในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของวิทยาลัยนาฏศิลปในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
กษมา ประสงค์เจริญ. (2565). ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 11(2), 17 - 30. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsudru/article/view/253919/175117
คมสัน พิมพ์วาปี และ จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2563). รูปแบบการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม การสอนของครูวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(1), 22 - 40. http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ejournals/openpdf/openpdf.php?id=11080
งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2563). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2562. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
ภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ. (2559). ทักษะในการนิเทศการศึกษาที่สำคัญต่อการพัฒนาวิชาชีพ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 37 - 44. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/92245/72307
รัชดา ขำครุธ. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรพื้นฐานวิชาชีพวิทยาลัยนาฏศิลป. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2563). แผนพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ.2560-2564 ประจำปี งบประมาณ 2564. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
สํานักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564, 13 มีนาคม). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (Niets). https://www.niets.or.th/th/content/view/18625
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2557). สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554-2557). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). Supervision and Instructional Leadership Developmental Approach (10th ed.). New York.
Hallinger, P. (2015). Conceptual Framework. In P. Hallinger & W. Wang (Eds.), Assessing Instructional Leadership with the Principal Instructional Management Rating Scale (pp. 25 - 46). Springer International Publishing.
Usman, Y.D. (2015). The Impact of Instructional Supervision on Academic Performance of Secondary School Students in Nasarawa State, Nigeria. Journal of Education and Practice, 6(10), 160 - 167. https://www.iiste.org/Journals/index.php/JEP/article/view/21451/22158