รูปแบบและลักษณะเฉพาะดนตรีประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร สู่การสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัย

Main Article Content

เศรษฐวุฒิ ปัญญวัตวงศ์
นพคุณ สุดประเสริฐ
สุพรรณี เหลือบุญชู

บทคัดย่อ

        งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและลักษณะดนตรีประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร (2501) และ 2) เพื่อสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัยประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร ดำเนินการโดยการศึกษารูปแบบและลักษณะดนตรีประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร จาก เอกสาร ตำรา วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน 3 ด้าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกรูปแบบและลักษณะดนตรีประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร และ 2) แบบสัมภาษณ์แนวคิดในการสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัย


        ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร ฉบับบันทึกเป็นภาพยนตร์ ประกอบด้วยบทเพลง 19 บทเพลง โดยในการสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัยประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร สามารถจำแนกกลุ่มเพลงไทยที่ใช้เป็นทำนองในการสร้างสรรค์เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเพลงทั่วไป จำแนกย่อยเป็นเพลงทั่วไปที่ไม่ใช้ประกอบท่ารำ และเพลงทั่วไปที่ใช้ประกอบท่ารำ และกลุ่มเพลงหน้าพาทย์ จำแนกย่อยเป็น เพลงหน้าพาทย์ที่ไม่ใช้ประกอบท่ารำ และเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบท่ารำ 2) ผลการสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัยประกอบการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร สามารถสร้างสรรค์เป็นเพลงได้ 7 เพลง ได้แก่ เพลงชุดที่ 1 ต้นเรื่องพญามาร เพลงชุดที่ 2 เริงสราญ เทพบุตรเทพธิดา เพลงชุดที่ 3 อสุราแค้นเทพเทวา เพลงชุดที่ 4 มหาเทพประสาทพร เพลงชุดที่ 5 ปวงอมรจับระบำนำภัย เพลงชุดที่ 6 เทพไทมาปราบมาร และเพลงชุดที่ 7 ผลาญอสูรด้วยนารี

Article Details

How to Cite
ปัญญวัตวงศ์ เ., สุดประเสริฐ น., & เหลือบุญชู ส. (2023). รูปแบบและลักษณะเฉพาะดนตรีประกอบการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นิ้วเพชร สู่การสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัย. วิพิธพัฒนศิลป์, 3(3), 32–48. https://doi.org/10.14456/wipit.2023.13
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2557). สารานุกรมเพลงไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2552). เพลงดนตรีและนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ: สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. (2550). การแสดงเรื่องรามเกียรติ์เนื่องในมงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา ตอน พรหมาศ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ - ดุริยางค์. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชาติ เปรมานนท์. (2537). ปรัชญาและเทคนิคการแต่งเพลงร่วมสมัยไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลปวัฒนธรรม. (2556). ประเภทของศิลปวัฒนธรรม. ศิลปวัฒนธรรม. http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art6_2/lesson1/1/page4.php

หอภาพยนตร์. (2501). นิ้วเพชร. หอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน). https://www.fapot.or.th/main/heritage/view/8