การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการรำเชิดฉิ่ง - เชิดจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ในรายวิชาทักษะนาฏศิลป์ 1 สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีปีที่ 1

Main Article Content

วรินทร์พร ทับเกตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการรำเชิดฉิ่ง – เชิดจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนนาฏศิลป์ (ละคร) ระดับปริญญาตรี ปีที่ 1 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินทักษะการรำ และ3) แบบบันทึกการสังเกตการรำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test 


ผลการวิจัย 1) ผลการพัฒนาทักษะการรำเชิดฉิ่ง – เชิดจีนด้วยห้องเรียนแบบกลับด้าน พบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองก่อนเข้าชั้นเรียน ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างหลักการ ท่ารำและทำนองเพลง  เมื่อเรียนรู้ในชั้นเรียนจึงสามารถปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว  ผลการทดสอบปรากฏว่า ผู้เรียนปฏิบัติท่ารำได้ถูกต้อง  เคลื่อนไหวร่างกายได้สัมพันธ์กันและสอดคล้องกับจังหวะทำนองเพลงมีลีลาท่ารำสวยงามยิ่งขึ้น 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การรำเชิดฉิ่ง – เชิดจีนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยห้องเรียนแบบกลับด้านเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความถูกต้องท่ารำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.32 การใช้จังหวะเพิ่มขึ้น 25.83 และลีลาท่ารำสวยงาม เพิ่มขึ้น 30.05

Article Details

How to Cite
ทับเกตุ ว. . . (2023). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการรำเชิดฉิ่ง - เชิดจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ในรายวิชาทักษะนาฏศิลป์ 1 สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีปีที่ 1 . วิพิธพัฒนศิลป์, 3(2), 16–32. https://doi.org/10.14456/wipit.2023.8
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวัฒน์ เจริญสุขปัญญาและคณะ (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เรื่อง ภาษาท่า สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา. คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงษ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

วรินทร์พร ทับเกตุ. (2561). วิธีการรำเพลงเชิด เพลงเสมอในการแสดงละครรำ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 339-354.

วรรษชล พิเชียรวิไล. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น. สถานพัฒนาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. (เอกสารประกอบ การประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2. http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf

ศศิธร มุกประดับ และคณะ (2561). ศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางและคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 1-9.