การใช้โน้ตร่วมเพื่อสร้างสรรค์การประสานเสียงในดนตรีสมัยนิยม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องการใช้โน้ตร่วมเพื่อสร้างสรรค์การประสานเสียงในดนตรีสมัยนิยมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเชิงปฏิบัติเพื่อนำทฤษฎีการประสานเสียงแบบดนตรีคลาสสิกและทฤษฎีการประสานเสียงแบบดนตรีแจ๊ส นำสู่การประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับดนตรีสมัยนิยม ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน แนวคิดและวิธีการประสานเสียงแบบดนตรีคลาสสิกและทฤษฎีการประสานเสียงแบบดนตรีแจ๊ส เป็นหลักแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กันเพียงแต่ยังขาดวิธีการสื่อสารที่เชื่อมโยงให้เป็นแนวทางในการนำทฤษฎีทั้ง 2 แบบมาประยุกต์ใช้ได้สะดวก และง่ายต่อการนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติอย่างอัตโนมัติ โดยวิธีการดังกล่าวได้นำ วิธีการใช้โน้ตร่วม (Common Notes) มาเป็นหลักของแนวคิดซึ่งประกอบด้วยวิธีการใช้โน้ตร่วมทั้งกับการประสานเสียงแบบดนตรีคลาสสิก และกับการประสานเสียงแบบดนตรีแจ๊ส จากทฤษฎีดังกล่าวเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา การวิเคราะห์ถึงวิธีการสังเกตที่นำไปสู่การสร้างสุนทรียศาสตร์ที่แตกต่างจากดนตรีสมัยนิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการนำไปใช้เชิงปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว ทันยุคสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของดนตรีที่กำลังทดลองสิ่งใหม่ ๆ เพื่อรองรับดนตรีแห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึงสังคมในอีกไม่ไกลนี้
ผลการศึกษาพบว่า การใช้โน้ตร่วมเพื่อสร้างสรรค์การประสานเสียงในดนตรีสมัยนิยม เป็นวิธีการนำสิ่งที่เป็นเสียงจำร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงสัมพันธ์ในบทเพลง หากต้องการให้กลมกลืน การใช้โน้ตร่วมการประสานเสียงแบบคลาสสิกและแบบดนตรีแจ๊สประเภท Diatonic Substitution เป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับความกลมกลืนและสงบ แต่หากต้องการให้เปลี่ยนบรรยากาศในการฟังที่แปลกหรือพิเศษยิ่งขึ้นจากที่เคยฟัง การใช้โน้ตร่วมการประสานเสียงแบบดนตรีแจ๊สในประเภท Chromatic Substitution เป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกับความแปลกใหม่และพิเศษยิ่งขึ้น โดยที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น การที่จะนำโน้ตร่วมเพื่อสร้างสรรค์การประสานเสียงจะต้องอยู่ภายใต้ความงดงามทางสุนทรียศาสตร์ของแต่ละบุคคลหลาย ๆ บุคคลจนเกิดสุนทรียภาพร่วมกันในสังคมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
จักรวาล สุขไมตรี. (2561). เทคนิคการประสานงานในองค์การ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์, 5(2), 263 - 275. http://praewa.ksu.ac.th/new2017/file/20180704_7106484980.pdf
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2551). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). เกศกะรัต.
เด่น อยู่ประเสริฐ. (2555). การประพันธ์ดนตรีแจ๊ส. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมดนตรีสากล. ศรีเมืองการพิมพ์.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2550). ทฤษฏีดนตรี 3. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
วีรชาติ เปรมานนท์. (ม.ป.ป.). ปรัชญาและเทคนิคการแต่งเพลงร่วมสมัยไทย. คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล. (2555). ทฤษฏีดนตรีแจ๊ส เล่ม 1. วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.
ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล. (2558). ทฤษฏีดนตรีแจ๊ส เล่ม 2. มิสชั่น มีเดีย.
สมชาย รัศมี. (2536). คู่มือนักดนตรี. พรานนกการพิมพ์.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ระเบียงทอง.
อนรรฆ จรัณยานนท์. (2537). เค้าน์เตอร์พ้อยท์. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
อานนท์ ศิริสมบัติวัฒนา. (ม.ป.ป.). THE JAZZ THEORY FIRST EDITION [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. อานนท์การดนตรี.