การศึกษาปัญหาการใช้งานพื้นที่ภายในอาคารเรียนสาขาวิชาภาพพิมพ์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพมหานคร จากมุมมองของผู้ใช้อาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้งานพื้นที่ภายในอาคารเรียนสาขาวิชาภาพพิมพ์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรุงเทพมหานคร และทำการประเมินอาคารหลังการใช้งานด้วยแบบสอบถามที่ตั้งอยู่บนแนวคิดการประเมินอาคารหลังการใช้งาน (Post Occupancy Evaluation: POE) โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้อาคารเป็นตัวชี้วัด ประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา และอาจารย์สาขาวิชาภาพพิมพ์จำนวนรวม 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้อาคารมีความพึงพอใจต่อการใช้งานพื้นที่ภายในอาคารเรียนสาขาวิชาภาพพิมพ์อยู่ในเกณฑ์ระดับน้อย (x̄ = 2.47, S.D. = 0.547) ปัญหาการใช้งานพื้นที่ภายในที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้อาคารมากที่สุด 3 อันดับแรก เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยคือ 1) มีห้องน้ำเพียงพอต่อการใช้งาน (x̄ = 1.53, S.D. = 0.554) 2) ความเพียงพอของอุปกรณ์การเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก (x̄ = 1.80, S.D. = 0.648) และ 3) ความเหมาะสมของวัสดุตกแต่งภายในอาคาร (x̄ = 1.85, S.D. = 0.622) ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อนำไปสู่แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ใช้งานภายในอาคารเรียนสาขาวิชาภาพพิมพ์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548. (2548, 2 กรกฎาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 52 ก. หน้า 4 – 19.
กฎกระทรวง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2517 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479. (2517, 21 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 91 ตอนที่ 86. หน้า 10 – 13.
กฎกระทรวง (ฉบับที่ 63) พ.ศ. 2551 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. (2551, 20 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 69 ก. หน้า 1 – 4.
กิติ สินธุเสก. (2564). การออกแบบภายในขั้นพื้นฐาน: หลักการพิจารณาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารีนา บุญสุตม์. (2556). ลักษณะการใช้ห้องเรียนปฏิบัติการสตูดิโอด้านศิลปะและการออกแบบในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/469453/58ad350ffdbe19c8ef7e26a02c952545?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2013.919
ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม. (2545). การจัดการอาคารสถานที่และภาพแวดล้อมสถาบันบริการสารสนเทศ. ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดการขั้นสูงสำหรับสถาบันบริการสารสนเทศ หน่วยที่ 7. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU RESEARCH รวมงานวิชาการ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3642/5/phiphat_jara.pdf
มาลินี ศรีสุวรรณ. (2543). การศึกษาความสัมพันธ์ของทิศทางกระแสลมกับการเจาะช่องผนังที่อาคาร สำหรับภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิช สุธารัตน์. (2547). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. สุวีริยาสาส์น.
วิเชษฐ์ จันทร์คงหอม. (2545). ศิลปะภาพพิมพ์ (Printmaking). วารสารปาริชาต, 14(2), 61-62. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69922/56792
วิทยาลัยช่างศิลป. (ม.ป.ป.) ที่ตั้งและการติดต่อ. วิทยาลัยช่างศิลป. http://cfa.bpi.ac.th/sub2-4.html
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2564). การจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. https://cse.wu.ac.th/wp-content/uploads/2021/06/lab_safety_user_manual_th_2564.pdf
สมศิริ อรุโณทัย. (2559). การวาดเส้นสร้างสรรค์: ภาพพิมพ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 6(3), 161-174. http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%206_3/6_3_12.pdf
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). ไทยวัฒนาพานิช.
สุภัค พฤกษิกานนท์ และ ธานัท วรุณกูล. (2553). การประเมินหลังการใช้งานเพื่อหาแนวทางการปรับปรุง กลุ่มหอพักเชิงดอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์พักอาศัยและเรียนรู้. วารสารวิชาการศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2), 42-56. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/26388/22399
Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). Development of induces of Access to Medical Care. Ann Arbor, Health Administration.
Barrett, P. & Finch, E. (2014). Facilities Management: The Dynamics of Excellence (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Hall, E. T. (1966). The hidden dimension. Doubleday.
Mill, R. C. (2002). A comprehensive model of customer satisfaction in hospitality and tourism: Strategic implications for management. International Business & Economics Research Journal, 1(6), 7-18.
Sannwald, W. W. (1997). Checklist of Library Building Design Considerations. (3rd ed.). American Library Association.
Voordt, D. J. M. van der., & Wegen, H. B. R. van (2005). Architecture in use: An introduction to the programming, design and evaluation of buildings. Elsevier, Architectural Press.
Walberg, H. J. (1987). Psychological environment. Pergamon.