เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์: การสร้างสรรค์เพลงค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Main Article Content

บำรุง พาทยกุล
วัชรมณฑ์ อรัณยะนาค

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ ประกอบด้วย เพลงนาฏศิลปาภิรมย์และเพลงภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ การสร้างสรรค์เนื้อร้องใช้คำประพันธ์ชนิดกลอนแปด มีการใช้การสัมผัสและลักษณะรูปแบบการประพันธ์ที่ใช้คำคล้องจองกันทั้งสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การสร้างสรรค์มีการนำคำสัมผัสอักษรมาใช้ สัมผัสอักษร คือ คำคล้องจองที่ใช้พยัญชนะชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดเสียงในการเล่นคำและสำเนียง เกิดเป็นท่วงทำนองดนตรีที่มีการไต่ระดับเสียงสูงต่ำ โดยบทเพลงมีเนื้อร้องเพลงละ 4 บทกลอน การสร้างสรรค์ทำนองเพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ ใช้หลักโครงสร้างเพลงไทยในการสร้างทำนองเพลง ยึดรูปแบบสังคีตลักษณ์ เป็นเพลง 2 ท่อน จังหวะหน้าทับเพลงไทย คือ หน้าทับปรบไก่ สองชั้น และหน้าทับจังหวะมาร์ช ที่นิยมใช้ในเพลงไทยสำเนียงฝรั่ง หรือกลุ่มเสียงตามแบบแผนของรูปแบบเพลงไทย เป็นการประพันธ์ด้วยวิธีการสร้างทำนองขึ้นมาใหม่จากแรงบันดาลใจและจินตนาการของผู้สร้างสรรค์เอง แต่ยังมีขนบแบบโบราณผสม สร้างทำนองกลุ่มเสียงให้อยู่ในกลุ่มเสียงปัญจมูล โดยเลือกใช้กลุ่มเสียง ด ร ม X ซ ล X และกลุ่มเสียง ซ ล ท X ร ม X มาสร้างทำนองเพลง เนื่องจากเป็นกลุ่มเสียงที่ทำให้สะดวกในการนำไปใช้บรรเลงและง่ายต่อการจดจำ


       

Article Details

How to Cite
พาทยกุล บ., & อรัณยะนาค ว. . (2022). เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์: การสร้างสรรค์เพลงค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิพิธพัฒนศิลป์, 2(3), 70–85. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.15
บท
บทความงานสร้างสรรค์

References

ฉลองชัย ทัศนโกวิท. (2563). การสร้างสรรค์บทเพลงขับขานประสานเสียง “สร้างปัญญา ศรัทธาความดี”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 79-112.

https://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/1121

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2563). ทฤษฎีดนตรีเพื่อการวิจัยและสารัตถบท. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

นภดล จันทร์เพ็ญ. (2542). การใช้ภาษาไทย. ต้นอ้อ.

นาฏยา นวลคล้าย. (ม.ป.ป.). ค่านิยมการทำงานต่อความผูกพันองค์การของพนักงานตรวจสอบบัญชีกลุ่มเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ท.)

บำรุง พาทยกุล และ วัชรมณฑ์ อรัณยะนาค. (2564). เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์: การสร้างสรรค์เพลงค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [เอกสารไม่ตีพิมพ์]. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์เพลงไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษณา สตะเวทิน. (2540). หลักการประชาสัมพันธ์. เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

ศุทธกานต์ มิตรกูล และ อนันต์ชัย คงจันทร์. (2559). เจนเนอเรชันวายในองค์กร: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมกับความผูกพันต่อองค์กร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 33(1), 51-75. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/61559

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562, 6 กันยายน). ค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=GZYy3awAvDQ

สำราญ จูช่วย. (2551). แนวทางการประชาสัมพันธ์ตามคุณลักษณะของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์. วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2534). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับความงามและศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2560). รูปแบบการฝึกอบรมทางจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในองค์กร ของบุคลากร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 1-12. https://he01.tci- thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/82067