งานวิเทศสัมพันธ์กับความท้าทาย ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

Main Article Content

ชุติมา สุดจรรยา

บทคัดย่อ

          ในปลายเดือนธันวาคม 2019 มีรายงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาไวรัสชนิดนี้ชื่อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้กลายเป็นหนึ่งในการระบาดครั้งใหญ่ของโลก เนื่องจากไวรัสสามารถแพร่กระจายในอากาศได้ การเว้นระยะห่างทางสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ รายงานจำนวนมากระบุว่าสิ่งนี้จะทำให้โลกเปลี่ยนไปสู่ความปกติใหม่ (New Normal) การเรียนรู้และการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาของมนุษยชาติที่ต้องเผชิญกับความท้าทายและการปรับตัวอย่างมากที่สุด โดยเฉพาะในสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นี้ ถือว่าเป็นความท้าทายและทดสอบสถาบันการศึกษาทุกแห่งในการเป็นผู้นำการเรียนรู้เพื่อให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานต่างประเทศ หรือ งานวิเทศสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษาทุกแห่งที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกการเดินทาง การปิดชายแดน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและนำเสนอประเด็นท้าทายและทางเลือกของสถาบันการศึกษาในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานวิเทศสัมพันธ์ของสถาบันการศึกษาให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติและดำเนินโครงการด้านต่างประเทศได้อย่างราบรื่น ในรูปแบบของความปกติใหม่ทางการศึกษา (New Normal of Education) เช่น การเรียนผ่านระบบออนไลน์ การเรียนในห้องเรียน การเรียนผสมผสานทั้งรูปแบบออนไลน์และรูปแบบออนไซต์ หรือการเรียนรูปแบบโฮมสคูล เป็นการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน เหมาะสมกับความพร้อมและทรัพยากรของผู้เรียน รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)

Article Details

How to Cite
Sudjanya, C. (2022). งานวิเทศสัมพันธ์กับความท้าทาย ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วิพิธพัฒนศิลป์, 2(3), 35–51. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.13
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://www.ops.go.th/en/personnel-media/personnel-publication/item/6094-2565-2

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1-A6. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/242540

ชฏาพร โชติรดาภาณ์. (2560). คุณลักษณะสำคัญคนวิเทศสัมพันธ์ สู่จุดยืนยุคไทยแลนด์ 4.0 กับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 197-203. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/124778

ชัยชนะ มิตรพันธ์. (2563, 25 พฤษภาคม). ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตใหม่รับ New Normal หลังวิกฤตโควิด – 19 รอดได้ด้วย Digital Technology. ETDA. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles/New-Normal-Lifestyle.aspx

ณิชา พิทยาพงศกร. (2563, 14 พฤษภาคม). New Normal ของการศึกษาไทย คืออะไร เมื่อเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. TDRI. https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). การบริหารจัดการธนบัตรในสถานการณ์โควิด 19. BOT พระสยาม MAGAZINE, 8(3), 26-27. https://www.bot.or.th/broadcast/BOTMagazine/2563/BOT2_63/mobile/index.html#p=28

พรรณิดา คำนา. (2563). การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้านทักษะภาษาอังกฤษในต่างประเทศ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 74-89.

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/204034

มาลี บุญศิริพันธ์. (2563, 6 พฤษภาคม). รู้จัก “New Normal” ฉบับราชบัณฑิตยสภา. Thai PBS. https://news.thaipbs.or.th/content/292126

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). รายงานการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ปี 2564: การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 สู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม. พริ้นท์เอเบิ้ล. https://www.nxpo.or.th/th/report/9727/

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563 – 2565. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/guide_civilservice_update.pdf

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ: หลุดจากกับดัก ขยับสู่ความยั่งยืน. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200525-The-World-Changes-People-v1/index.html

หงส์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง และ ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. (2562). ไทยแลนด์ 4.0 กับนโยบายต่างประเทศ: ยุทธศาสตร์ต่างประเทศ 5 มี. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 23(2), 312-327. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/easttu/article/view/241354

Logue, A. W. (2017). Pathways to reform: Credits and conflict at the City University of New York. USA: Princeton University.

Richardson, K., Benbunan-Fich. R. (2011). Examining the antecedents of work connectivity behavior during non-work time. Inf. Organ., 21(3)

Tsuneyoshi, R. (2020). Japan: Tokkatsu or student-led collaboration online. http://www.kumamoto-kmm.ed.jp/sch/e/obiyamanishies/