อำนาจ วัฒนธรรม: รำวงมาตรฐาน

Main Article Content

มณิศา วศินารมณ์

บทคัดย่อ

        บทความนี้มุ่งนำเสนอรำวงมาตรฐาน ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสื่อสารอำนาจทางวัฒนธรรมไทย   ตามนโยบายการปกครองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความเป็นชาติที่มีอารยธรรมสู่สากล แนวทางการสร้างสรรค์สู่การเผยแพร่รำวงมาตรฐาน มุ่งปรับเปลี่ยนค่านิยม อุดมการณ์ทางการเมืองปลูกฝังแนวคิด พฤติกรรม ประเพณีไทยอย่างที่ผู้นำต้องการ การเผยแพร่แก่สาธารณชนในโอกาสต่างๆ รัฐบาลมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การเลือกนาฏกรรม การปรับผสมผสานระหว่างของเดิมและสากล การสร้างสรรค์และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากการแต่งตั้งของรัฐบาลทำให้เกิดการยอมรับในสังคม ศิลปินต้นแบบผู้เผยแพร่การแสดงได้รับความนิยม ทำให้เกิดการสร้างแรงจูงใจ และกระแสสังคม การกำหนดข้อปฏิบัติในการเผยแพร่แก่สังคมทำให้เกิดการปลูกฝังให้อยู่ในตัวบุคคล สังคม เมื่อรับชม รับฟัง ปฏิบัติตามสาระสำคัญที่ปรากฏในบทร้องจนกลายเป็นกิจวัตร และประเพณี พร้อมที่จะสืบทอดต่อไป อิทธิพลจากรำวงมาตรฐานที่ส่งผลต่อบุคคล กลุ่มบุคคล สังคมของไทยในเวลานั้น มีผลกระทบในเวลาต่อมา คือ ความเป็นชาติไทยนิยม ความเป็นเอกราช เครื่องแต่งกายไทยสากล หรือแบบสากลนิยม การรับราชการทหาร ความขยันหมั่นเพียร นาฏศิลป์และการละเล่นของไทย ภาษาไทย คุณลักษณะสตรีไทย นอกจากนี้ เมื่อมีการเผยแพร่แก่ชาวต่างชาติ รำวงมาตรฐานยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน

Article Details

How to Cite
วศินารมณ์ ม. (2022). อำนาจ วัฒนธรรม: รำวงมาตรฐาน. วิพิธพัฒนศิลป์, 2(2), 49–67. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.9
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2505). รำวง. กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2521). กฎหมายตราสามดวง. กรมศิลปากร.

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร. (2559, 22 สิงหาคม). การนำเสนอบทความ ชุดรำวงมาตรฐาน. Facebook.https://m.facebook.com/prfinearts/photos/a.1122295887837854/1122304434503666/?type=3&_rdr

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2497). ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4: ประกาศว่าด้วยลครผู้หญิง แลเรื่องหมอเรื่องช่าง. https://vajirayana.org/ประชุมประกาศรัชกาลที่-๔-ภาค-๒/๕๘-ประกาศว่าด้วยลครผู้หญิง แลเรื่องหมอเรื่องช่าง

จีรวัสส์ ปันยารชุน. (2535). ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม. ด่านสุทธา.

ชาญ อังศุโชติ. (2540). จอมพล ป. พิบูลสงคราม : ครบรอบศตวรรษ 14 กรกฎาคม 2540. มูลนิธิจอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2564, 27 ตุลาคม). ซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/ blogs/columnist/968174

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. (2479). ตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร. http://164.115.27.97/digital/ items/show/7441

เต้นรำ ลีลาศ Social Dance. (2558, 18 กรกฎาคม). ลีลาศ 10 จังหวะตามมาตรฐานสากล. Facebook. https://th-th.facebook.com/614293788586655/photos/1150685514947477

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2504). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 เล่ม 1. คุรุสภา.

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2561, 10 พฤศจิกายน). โขนพิเภกสวามิภักดิ์ รอดตายเพราะคำแม่. ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/local/1416576

ธนิต อยู่โพธิ์. (2531). ศิลปละคอนรำหรือคู่มือนาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมศิลปากร.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2563, 24 สิงหาคม). เลือดสุพรรณ: ปลุกใจผู้หญิงไทยให้รักชาติและลุกรบ. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/history/article_7167

นิติราษฎร์ บุญโย. (2565, 19 เมษายน). soft power ของไทย? ความหมาย ความจริงและความฝัน. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/999871

นรินทรเทวี, กรมหลวง และ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2526). จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310-2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มติชนสุดสัปดาห์. (2565, 1 มีนาคม). “บทละครพูด” พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เครื่องมือที่ทรงใช้สื่อสารกับสาธารณะ. https://www.silpa-mag.com/history/article_41565

ปรามินทร์ เครือทอง. (2563, 11 ธันวาคม). “รำวง” อาวุธของจอมพล ป. ที่ใช้รับมือญี่ปุ่น สู่ภาคปฏิบัติ หยุดราชการครึ่งวันมารำวง?. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_31303

มณิศา วศินารมณ์. (2557). รายงานวิจัย เรื่อง ละครรำรัชกาลที่ 7 และการสืบทอด. สถาบันพระปกเกล้า.

มณิศา วศินารมณ์. (2561). นาฏกรรมไทยกับนโยบายการปกครอง พ.ศ.2468-2516. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73158

มณิศา วศินารมณ์. (2565). แผนภูมิการสร้างสรรค์ และการเผยแพร่รำวงมาตรฐาน ฉบับจอมพล ป. พิบูลสงคราม. [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐนิยม. (2485). ยิ้มศรี.

โรม บุนนาค. (2559, 3 กุมภาพันธ์). ร.๖ ทรงวินิจฉัย “ท้าวแสนปม” เรื่องปาฏิหาริย์เหลือเชื่อ ซ่อนความจริงที่เป็นไปได้ไว้!!!. ผู้จัดการออนไลน์. https://m.mgronline.com/onlinesection/detail/

วิจิตรวาทการ, หลวง. (2506). นาฏศิลป. พระจันทร์.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี. (2559, 17 มิถุนายน). รำโทน. https://www.m-culture.go.th/lopburi/ewt_news.php?nid=436&filename=index

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559, 20 มิถุนายน). สุจิตต์ วงษ์เทศ : คำพิพากษาจากอำนาจทางวัฒนธรรมไทย. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/education/news_181972

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. ห้องภาพสุวรรณ.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัษฎา อาทรไผท. (2565, 10 มกราคม). งามแสงเดือน จากยุค จอมพล ป. สู่สมัย พลเอกประยุทธ์. มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/column/article_507473

AJAN THUS. (ม.ป.ป.). ใบความรู้เรื่อง รำโทน. https://mobile.sites.google.com/site/ajanthus/ra-thon