การปรับตัวด้านภาษาและวัฒนธรรม ของนักศึกษานานาชาติในมหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการเปิดเสรีทางการศึกษาข้ามชาติ ส่งผลให้มีชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาศึกษาหลักสูตรนานาชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี นักศึกษาต่างชาตินั้นมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ แต่ต้องเข้ามาสู่วัฒนธรรมใหม่ ๆ มักจะเกิดปัญหาการปรับตัวทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ความเหงา ความไม่แน่ใจในการสื่อสารกับคนต่างวัฒนธรรม นักศึกษาต้องพยายามเรียนรู้และปรับตัวกับเพื่อนใหม่เพื่อให้เข้ากับบรรทัดฐานและวิธีปฏิบัติของสังคม วัฒนธรรม ในสิ่งแวดล้อมใหม่ให้เกิดการยอมรับในกลุ่มคนอื่น ๆ เพื่อความอยู่รอดของตนเอง
นักศึกษาต่างชาติมหาวิทยาลัยมหิดลประสบปัญหาด้านภาษาและการสื่อสาร เนื่องจากนักศึกษาต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง เมื่อต้องสื่อสารด้วยภาษาพูด คนไทยมักไม่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้ในระยะแรกที่นักศึกษาต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างมากและฝึกการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันในการสื่อสารกับเพื่อนคนไทยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับเพื่อนนักศึกษาชาวไทย ขณะที่นักศึกษาชาวไทยเองสามารถฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางในการสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น การศึกษาเรื่องการปรับตัวด้านภาษาและวัฒนธรรมของนักศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนี้ จึงเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาต่างชาติที่จะเข้ามาศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และยังเป็นประโยชน์ในกระบวนการดูแลนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2564). “สวัสดี” มาจากไหน?. http://www.silpamag.com/culture/article_31081
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ความร่วมมือด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยมหิดล. https://op.mahidol.ac.th/ir/th/int-collaboration/
คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). ภาษากับการสื่อสาร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณิต นิยะกิจ. (2562). ปรับเปลี่ยน Culture สู่วัฒนธรรม. https://www.matichon.co.th/education/news_1347057
ดวงทิพย์ เจริญรุกข์. (2561). ความสามารถทางการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต.วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 23(1), มกราคม–เมษายน, 121-128. http://so06.tcithaijo.org/index. php/jca/issue/view/16885
ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร และอัครนัย ขวัญอยู่. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด – 19 ต่อหลักสูตรนานาชาติในระดับ อุดมศึกษาของไทย. วารสารธรรมศาสตร์. 40(3), 114-139. http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx? ArticleID=7921
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (ม.ป.ป.). Culture. คำศัพท์ทางมานุษยวิทยา. http://sac.or.th/database/anthropology- concepts/glossary/30
ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
พระมหาประสิทธิ์ แก้วศรี. (2563). การปรับตัวของนักเรียนไทยในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา นักเรียนไทยในดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(11), พฤศจิกายน, 32-34.
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/246515
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2556). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559) . มหาวิทยาลัยมหิดล “ปัญญาของแผ่นดิน”. https://www.mahidol.ac.th/th/welcome_mu.htm
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). THAI-UK: Mahidol-Strathclyde Transnational Education Program. https://mahidol.ac.th/2018/thai-uk/
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ม.มหิดล จัดงาน “Mahidol University International Night 2018”.
https://mahidol.ac.th/th/2018/mu-internight/
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). มาตรการเยียวยานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลสำหรับนักศึกษาชาวต่าง. https://science.mahidol.ac.th
มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). Mahidol University In Focus. https://mahidol.ac.th/th/in-focus/
มุกดา ศรียงค์. (2561). จิตวิทยาทั่วไป General Psychology PC 103. (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มุฑิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์กรผ่านความผูกพันต่อ องค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559 ก). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. Kasetsart Journal of Social Sciences. 39(3),กันยายน - ธันวาคม, 879-881. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kjss/article/view/242637/164867
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559 ข). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบัณบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.
เยาวนุช ซอหะซัน, พัชนี เชยจรรยา และเมตตา วิวัฒนานุกูล. (2563). การใช้ชีวิตและปัจจัยหลักที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษามุสลิม ต่างชาติในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 17(2), กรกฎาคม – ธันวาคม, 66-93. https://so04.tci-
thaijo.org/index.php/journalmbsmut/article/view/248061
วรชัย วิภูอุปรโคตร, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2560). รูปแบบเครือข่าย มหาวิทยาลัยในการบรรลุผลประโยชน์ร่วม กันของการพัฒนาภูมิภาคสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัย เพื่อพัฒนาชุมชน. 10(2), เมษายน-มิถุนายน, 37-51.
https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/view/1818
สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2560). ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนย้ายนักศึกษาต่างชาติมาศึกษา ในระดับอุดมศึกษาไทย. วารสาร วิทยาการจัดการสมัยใหม่. 12(2), กรกฎาคม-ธันวาคม, 68-82. https://so03.tci- thaijo.org/index.php/JMMS/article/view/206142
สุรศักดิ์ บุญอาจ. (2558). กระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชา
ในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารนิเทศศาสตร์. 34(2), พฤษภาคม-สิงหาคม, 91-106. https://so02.tci- thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/86081
หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์. (2562). ไทยแชมป์จุดหมายปลายทางยอดฮิตของนักศึกษาต่างชาติ. https://www.posttoday.com/world/595063
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ. (2562). ไทยเป็นประเทศที่ต่างชาติอยากมาเรียนต่อมากเป็นอันดับ 1. https://siamrath.co.th/n/91817