การบรรเลงกู่เจิงเพลงไทยแบบแผน: บริบททางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางสังคม

Main Article Content

อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ

บทคัดย่อ

       “กู่เจิง” หนึ่งในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทั้งด้านวิธีการบรรเลงและกระแสเสียงที่ไพเราะสดใส ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกและสร้างสุนทรียะให้แก่ผู้ฟังได้เกิดจินตนาการที่หลากหลาย อีกทั้งการตั้งเสียงด้วยระบบ 5 เสียง (Pentatonic) ที่พบเฉพาะเครื่องดนตรีในแถบเอเชียสอดคล้องกับบันไดเสียงในเพลงไทยแบบแผนสำเนียงภาษาต่าง ๆ เช่น ลาว เขมร จีน มอญ ฯลฯ เกิดการผสมผสานและสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยแบบแผนที่นำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพลงไทยแบบแผนที่บรรเลงด้วยกู่เจิงสร้างอรรถรสในการฟังที่แปลกใหม่ผ่านเสียงของกู่เจิงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผสานกลิ่นอายของความเป็นไทยในบทเพลงไทยแบบแผนได้อย่างลงตัวทำให้ได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน การรับเอาวัฒนธรรมดนตรีจีนเข้ามามีบทบาทนับเป็นปัจจัยด้านหนึ่งที่สำคัญที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย - จีน แน่นแฟ้นฉันพี่น้องมากขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทั้งด้านสังคมวัฒนธรรม การทูต เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
สุวรรณวัฒนะ อ. (2022). การบรรเลงกู่เจิงเพลงไทยแบบแผน: บริบททางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางสังคม. วิพิธพัฒนศิลป์, 2(1), 1–14. https://doi.org/10.14456/wipit.2022.1
บท
บทความวิชาการ

References

จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า. (2554). ความในใจของข้าพเจ้า. ดีเอ็มจี.

ชนก สาคริก. (ม.ป.ป). วิธีดีดพิณกู่เจิงแบบไทย. https://app.box.com/s/78cj7k1xzmr832w97jg3gj5hekjdzovr

ชนัดดา ชั้นบุญ, ธัญญารัตน์ สาคริก, นันทิภา ตั้งปรัชญากูล, และอัษฎาวุธ สาคริก. (2561). สายประสม เมื่อจันทร์กระจ่างฟ้า นบบูชา ครูจันทร์ โตวิสุทธิ์ 22 เมษายน 2561 เพลงชนก มุทิตาจิต 72 ปี ครูชนก สาคริก 28 เมษายน 2561. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2559). สดับทิพย์ดุริยางค์ ศาสตร์การเรียบเรียงเพลงไทยสำหรับเปียโน.ธนาเพรส.

พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2550). ชาวจีนในไทยมาจากไหน เปิดประวัติการอพยพยุคแรกเริ่ม ถึงการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/songwad-century/article_26173

พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มติชนออนไลน์. (2562, 5 พฤษภาคม). พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ. https://www.matichon.co.th/court-news/news_1481160

สุรพล สุวรรณ. (2559). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หลี่หยาง. (ม.ป.ป. 1). โน้ตเพลง Guzheng Intermediate 1 โดยหลี่หยาง. ม.ป.ท.

หลี่หยาง. (ม.ป.ป. 2). หนังสือโน้ตเพลงสำหรับดนตรีจีนโบราณ เล่ม 2. ม.ป.ท.

อธิพัชร์ สุวรรณวัฒนะ. (2562). การเรียบเรียงเพลงไทยตามแนวทางการบรรเลงกู่เจิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

อานันท์ นาคคง. (2561). เครื่องสายประสม ประสานสังคมสยาม. สายประสม เมื่อจันทร์กระจ่างฟ้า นบบูชา ครูจันทร์ โตวิสุทธิ์ 22 เมษายน 2561 เพลงชนก มุทิตาจิต 72 ปี ครูชนก สาคริก 28 เมษายน 2561. มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2555). พินิจดนตรีไทย เล่ม 2 ชุด “สารัตถะดนตรีไทย”. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Guzheng Alive. (2020, November). Guzheng Key Table. KEY CHANGES. https://guzhengalive.com/keys