การเปลี่ยนแปลงของเครื่องดนตรีประกอบการแสดงโนรา

Main Article Content

ไกรวิทย์ สุขวิน

บทคัดย่อ

          โนรา ศิลปะการแสดงประจำถิ่นของภาคใต้ เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ถึงวัฒนธรรมของผู้คนได้อย่างเด่นชัด โดยมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ อันประกอบด้วย ปี่ใต้ ทับ กลองตุ๊ก ฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ เครื่องดนตรีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบการแสดงที่สมบูรณ์ในอดีต แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามวัฒนธรรมสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน


          ด้วยเหตุดังกล่าว บทความนี้จึงมุ่งอธิบายการเปลี่ยนแปลงของเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงโนราที่เรียกว่า “เครื่องห้า” เพื่อสะท้อนให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมสังคม โดยการรวบรวมข้อมูลและบรรยายให้เห็นวัฒนธรรมร่วมตลอดจนข้อแตกต่าง


          ในบริบทของเวลาที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องห้าเดิม ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงภายใน โดยปรับรูปแบบของระบบเสียงให้สอดคล้องกับดนตรีตะวันตก มีการนำวัสดุอื่นทดแทนวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีเดิม และแตระได้รับความนิยมน้อยลงเพราะสามารถใช้การเคาะขอบกลองตุ๊กแทนได้ 2) การประสมเครื่องดนตรีไทยชนิดอื่น อาทิ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย และฉาบ เป็นต้น และ 3) การประสมเครื่องดนตรีตะวันตก โดยการนำคีย์บอร์ดไฟฟ้าเป็นพื้นฐานในการบรรเลงทำนองร่วมกับปี่ใต้ ซึ่งในคณะโนราขนาดใหญ่อาจนำเครื่องดนตรีอื่นประกอบด้วย เช่น กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า กลองชุด แซกโซโฟน ทรัมเป็ต และทรอมโบน เป็นต้น จึงทำให้วงดนตรีโนราในปัจจุบันสามารถบรรเลงดนตรีได้หลากหลายแนว และมีแนวโน้มในการปรับประยุกต์แนวดนตรีหรือบทเพลงที่เป็นที่นิยมมาใช้ประกอบการแสดงโนรามากขึ้น

Article Details

How to Cite
สุขวิน ไ. (2021). การเปลี่ยนแปลงของเครื่องดนตรีประกอบการแสดงโนรา. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(3), 31–46. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.15
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). มรดกวัฒนธรรมภาคใต้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิตติชัย รัตนพันธ์. (2564). ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

กิตติศักดิ์ เหล่าสุข. (2551). เพลงประกอบการแสดงโนราและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง: กรณีศึกษามโนราห์ คณะสพรั่ง สวีศิลป์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ครูเชาว์โชว์ CHANNEL. (2562, 30 ธันวาคม). บันทึกการแสดงสดงานวันขนมลา – มโนราห์ไข่เหลี้ยม วิเชียรศรชัย. https://www.youtube.com/watch?v=DAyHv0CUmUQ

ชวน เพชรแก้ว. (2559). โนรา: การอนุรักษ์และพัฒนา. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 16(1), 1 – 27.

ฐิติวุฒิ สุขศิริวัฒน์. (2559). การปรับเปลี่ยนทางดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุง ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(43), 49 – 63.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2564). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). เกศกะรัต.

ดรุณี อนุกูล. (2559). ดนตรีหนังตะลุง: ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลง. [รายงานผลการวิจัย]. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). วัฒนธรรมดนตรีถิ่นใต้ สรรสาระบทความดนตรีภาคใต้. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2547). สมญานามของโนรา. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 3(1), 28 – 35.

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2555). จิตรกรรมโนรา สู่คุณค่าแห่งนาฏลักษณ์ภาคใต้. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 58 – 75.

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์. (2559, 5 ตุลาคม). รำโนราโดย ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ งานเปิดใจ 5 บุคคล ผู้ถวายงานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ. https://www.youtube.com/watch?v=-wVcldrwDr8

ธวัชชัย ซ้ายศรี และผกามาศ จิรจารุภัทร. (2563). โนราโรงครู คณะสองพี่น้อง ศิลป์บ้านตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 12(1), 72 – 85.

ธิกานต์ ศรีนารา และพิเชษฐ์ เดชผิว. (2548). วัฒนธรรมดนตรีในสังคมไทย. แม็ค.

บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้: ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2563). เรื่องเล่าประเพณีและวัฒนธรรมแดนใต้. สถาพรบุ๊ค.

ผกามาศ ชัยบุญ. (2559). เพลงทับในรูปแบบการแสดงหนังตะลุง: กรณีศึกษานายทับในคณะของนายหนังตะลุงที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ. กระแสวัฒนธรรม, 17(32), 44 – 58.

พรเทพ บุญจันทร์เพ็ชร์. (2558). ประวัตินาฏศิลป์ไทย: ภาคใต้. โอเดียนสโตร์.

พิชิต ปฐมเจริญโรจน์ (บ.ก.). (2552). ดนตรีไทย. พีบีซี.

พิทยา บุษรารัตน์ และเบ็ญจวรรณ บัวขวัญ. (2560). โนรา: การเปลี่ยนแปลงการปรับตัวและพลังสร้างสรรค์ในการดำรงอยู่ของคีตนาฏยลักษณ์แห่งภาคใต้. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 16(2), 41 – 64.

พัทธานันท์ สมานสุข และพรทิพย์ อันทิวโรทัย. (2559). คุณค่าโนรา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(3), 407 – 421. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84006/66888

วงษ์สิริ เรืองศรี. (2563). “มโนราห์” บนฐานการจัดการวัฒนธรรมร่วม: โนราเติม เมืองตรัง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 4(2), 12 – 27.

ศาสตร์แห่งครูหมอโนรา. (2556, 30 มิถุนายน). ภาพโนราโรงครู วัดมัชฌิมาวาส ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. http://krunora.blogspot.com/2013/06/blog-post_4439.html

สธน โรจนตระกูล. (2559). ดนตรีนิยม. โอเดียนสโตร์.

สรัญ เพชรรักษ์, ปรารภ แก้วเศษ และอัญชลี จันทาโภ. (2562). การพัฒนาปี่โนราเพื่อการอนุรักษ์ตามแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 178 – 198.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. (2561, 9 กันยายน). นายพร้อม บุญฤทธิ์. https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=494&filename=index

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. (2558, 30 กันยายน). การแสดงมโนราห์. https://www.m-culture.go.th/ranong/ewt_news.php?nid=25&filename=index

สำเร็จ คำโมง. (2552). รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี. โอเดียนสโตร์.

สุมาลี นิมมานุภาพ. (2561). ดนตรีวิจักษณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรศักดิ์ เพชรคงทอง. (2564). การแสดงดนตรีพื้นบ้านไทยที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 254 – 268.

อภิชาติ แก้วกระจ่าง และสุขสันติ แวงวรรณ. (2564). “แขกแดง” ตลกชูโรงของการแสดงลิเกป่า คณะเด่นชัย สงวนศิลป์ จังหวัดพัทลุง. วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 1(1), 13 – 27. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.2

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2555). พินิจดนตรีไทย เล่ม 1 ชุด “ประวัติศาสตร์ดนตรีไทย”. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัศวิน ศิลปะเมธากุล. (2552). ศึกษาการละเล่นหนังตะลุงในภาคใต้เพื่อพัฒนาการละเล่นร่วมสมัย. วารสารวิทยบริการ, 20(1), 27 – 42.