คะฉิ่น

Main Article Content

ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์
สุนิษา สุกิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยเรื่อง “คะฉิ่น” นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการศึกษาและสร้างสรรค์งานศิลปนิพนธ์ เชิงสร้างสรรค์ สาขาวิชาศิลปะการแสดงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงสร้างสรรค์ ชุด “คะฉิ่น”


          ผลการวิจัยพบว่า การแสดงชุด“คะฉิ่น”เป็นการแสดงประเภทการแสดงสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะการแสดง เป็นการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ ออกแบบจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การเกษตรกรรม การเพาะปลูก การทอผ้าคะฉิ่น และการดำรงชีวิตที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนจำนวน 10 คน แต่งกายแบบชนเผ่าคะฉิ่น รูปแบบการแสดงประกอบด้วย 3 ช่วง ช่วงที่ 1 ช่วงอรุณเบิกฟ้า มีท่าทั้งหมดจำนวน 34 ท่าประกอบการแสดง ช่วงที่ 2 ช่วงการเต้น สื่อให้เห็นถึงความสดใสร่าเริงของผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น มีทั้งหมด 79 ท่าประกอบการแสดง ช่วงที่ 3 ช่วงรวมใจและการขอบคุณ การเต้นรวมใจของผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นที่มารวมตัวกันเพื่อขอบคุณและสร้างมิตรภาพอันดีต่อกัน มีทั้งหมด 29 ท่าประกอบการแสดง และการปรับเปลี่ยนรูปแบบแถวการแสดงทั้งหมด เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นบทเพลงที่ประพันธ์ทำนองขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อเพลงว่า “คะฉิ่น” เป็นการนำเอาเสียงเครื่องดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นมาสร้างสรรค์บทเพลงขึ้น ได้แก่ ขลุ่ยจิงเผาะ ฆ้องใหญ่ กลองใหญ่จิงเผาะ ฉาบ ทำให้เกิดมิติและความร่วมสมัยมากขึ้น


คำสำคัญ: การแสดงสร้างสรรค์, คะฉิ่น, ชาติพันธุ์


 

Article Details

How to Cite
มีสมศักดิ์ ต., & สุกิน ส. . (2021). คะฉิ่น. วิพิธพัฒนศิลป์, 1(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/wipit.2021.1
บท
บทความวิจัย

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2560). สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา สายทองคำ. (2561). นาฏศิลป์ไทย รำ ระบำ ละคร โขน. นุชาการพิมพ์.

ปราณี ศิริธร.ณ พัทลุง (2528). สารัตถคดีเหนือแคว้นแดนสยาม. โรงพิมพ์ช้างเผือก.