นวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่ การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นแผนงานโครงการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย โดยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ ที่เน้นศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพด้านการจัดการ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการสื่อสารการตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และสำรวจด้วยแบบสอบถาม จากตัวอย่างครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ บุคลากร และผู้ใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออก ต้องบูรณาการความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วนใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพในธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ 2) การสร้างอัตลักษณ์สปาตะวันออก 3) การพัฒนาบุคลากรด้านสปาเพื่อสุขภาพ 4) การเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารการตลาด และ 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการกำหนดมาตรฐานสปาเพื่อสุขภาพที่เป็นสากล มีการพัฒนาระบบการประเมินและประกันคุณภาพการให้บริการสปาตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นรอบเวลา (ภายใน 5 ปี) รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรวิชาชีพสปาเพื่อสุขภาพให้มีมาตรฐานและมีการขึ้นทะเบียนบุคลากร นอกจากนี้ต้องส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์สปาเพื่อสุขภาพแบบตะวันออก ที่เน้นการนวดแบบไทย การใช้สมุนไพร และผลไม้ท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรให้มีความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพบางแห่งให้เป็นสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก การบูรณาการระบบการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทีสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ การกำหนดนโยบายและกลไกการพัฒนาระบบมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ การพัฒนาระบบการขออนุญาตเปิดดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และการสร้างเครือข่ายฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อให้สถานประะกอบการสปาเพื่อสุขภาพทุกแห่งสามารถเรียนรู้ร่วมกันและใช้ข้อมูลในการวางแผนธรุกิจสปาเพื่อสุขภาพได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). เอกสารความรู้ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ. 2560-2569). สืบค้น 10 สิงหาคม 2565 จาก http://203.157.7.120/fileupload/2560-102.pdf.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560). แนวทางการดำเนินงานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). คู่มือผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วินัย 2509 จำกัด.
คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว. (2558). แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. 2559 - 2563. ชลบุรี: เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก.
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา และคณะ. (2561). สถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลกและประเทศไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(35), 77-87.
ภาสกร จันทร์พยอม และคณะ. (2556). การศึกษาอุปสงค์ของสถานประกอบการและแรงงานอาชีพสถานประกอบการสปาในประเทศอาเซียน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ภักดี กลั่นภักดี. (2560). ปัจจัยด้านมาตรฐานของสถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล. (2562). การพัฒนามาตรฐานสถานประกอบการสปาและนวดเพื่อสุขภาพไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 3-12.
ราณี อิสิชยักลุ และรชพร จนัทรส์ว่าง. (2559). การศึกษาศักยภาพสถานประกอบการสปาไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 17-31.
ศิริวรรณ วรรณศิริ. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสปาไทยและนวดเพื่อสุขภาพช่วงเวลาวิกฤตโควิด. หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐ. (2560). เปิดขั้นตอนสำคัญก่อนเริ่มต้น “ธุรกิจสปา-นวดแผนไทย ในสหรัฐอเมริกา”. สืบค้น 6 ธันวาคม 2564 จาก https://globthailand.com/usa_0007/.
สุเนตรตรา จันทบุรี. (2559). โอกาสและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาและนวดแผนไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 17(2), 49-63.
American Spa. (2019). Here are Spas of America's Top 100 Spas of 2018. Retrieve November 20, 2021, from https://www.americanspa.com/news/here-are-spas-americas-top-100-spas-2018.
Kitchen, J. (2017). Wellness communities in Europe. Retrieve November 20, 2021, from https://www.spabusiness.com/spa-business-magazine/Wellness-communities-Europe/31906.
ThaiEurope. (2018). โอกาสและความท้าทายของผลิตภัณฑ์สปาไทยในตลาดยุโรป. Retrieved November 20, 2021, from http://thaieurope.net/2018/07/24/opportunities-and-challenges-of-spa-products-in-eu/.
Wayne, S. and Russell, E. (2020). Analysis of the Global and Asian Wellness Tourism Sector. The Asian Development Bank.
Wiwatreungdech, U. (2020). Managing Spa Business After The COVID-19 Crisis Through Mckinsey’s 7-S Framework. Master of Management Program, Mahidol University.