การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในสังคมต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตในสังคม 9 ด้าน ได้แก่ ระบบการศึกษาของรัฐที่พัฒนาอย่างดี เหมาะสำหรับครอบครัว เสถียรภาพทางการเมืองที่ดี ความปลอดภัย ระบบสาธารณสุขที่พัฒนาเป็นอย่างดี ตลาดการจ้างงานที่ดี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดี ความเท่าเทียมกันของรายได้ และราคาสินค้าที่สามารถจ่ายได้ มีเพียง 2 ประทศที่คุณภาพชีวิตในสังคมยังไม่บรรลุผลสำเร็จในด้านตลาดการจ้างงานที่ดี คือ ประเทศเยอรมนี และประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 2) ผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ พบว่า ต่างประเทศที่มีคุณภาพชีวิตในสังคม ได้แก่ ราคาสินค้าที่สามารถจ่ายได้ ตลาดการจ้างงานที่ดี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความเหมาะสำหรับครอบครัว ความเสมอภาคทางรายได้ ความมั่นคงทางการเมือง ความปลอดภัย ระบบการศึกษาของรัฐที่พัฒนาอย่างดี และระบบสาธารณสุขที่พัฒนาอย่างดี โดยประเทศเหล่านี้มีความโดดเด่น ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตในสังคมที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จและคุณภาพชีวิตในสังคมบรรลุผลสำเร็จแล้วในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตในสังคม ได้แก่ คุณภาพชีวิตในสังคมที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ คือ การขจัดความยากจน การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม การพัฒนาเพื่อด้านเศรษฐกิจ สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวาย คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทยจะแย่ลง คุณภาพชีวิตในสังคมที่บรรลุผลสำเร็จ คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง สุขภาพและอนามัย โอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง และด้านที่อยู่อาศัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5(2), 13.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2566). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก http://wiki.kpi.ac.th/.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาอำนาจ สวัสดี. (2560). การพัฒนาพุทธศาสนิกชนสู่วิถีพุทธตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พิณทิพย์ สดวิไลย, พัชราพร เกิดมงคล, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ และพิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. (2562). ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่สถาบันบำราศนวาดูร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 33(2), 96-110.
เพชรรัตน์ แสงมณี. (2566). เปิด 10 ประเทศ คุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลก ‘สวีเดน’ ครองแชมป์การศึกษา-ความปลอดภัยเด่นสุด. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://www.thebusinessplus.com/quality-of-life/.
ภัทรพล มหาขันธ์. (2559). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. วิจัยระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สวัสดิ์ ภู่ทอง. (2564). สภาพการดำเนินงานตามแนวคิดการบริหารคุณภาพทั้งองค์กรในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สถาบันพระปกเกล้า. (2560). อำนาจหน้าที่ในการจัดการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2567). การเมือง เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในปี 2567. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=675.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2561). ปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก http://kanchanapisek.or.th/.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). คุณภาพชีวิตคนไทย” อยู่อันดับไหนในเวทีโลก?. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://www.nia.or.th/SPI2020.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2567, 1 เมษายน). รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2022 ชี้ ไทย รั้งอันดับ 44 จาก 163 ประเทศทั่วโลก และอันดับ 1 ของ ASEAN. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6674&lang=TH.
องค์การอนามัยโลก. (2561). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต. สืบค้น 1 เมษายน 2567, จาก http://www.un.or.th/world-health-organization-who.
อัสมะ สะมะแอ. (2565). ศึกษาคุุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Beadle-Brown, J., Murphy, G., and Di Terlizzi, M. (2008). Quality of Life for the Camber well Cohort. Journal of Applied Research in Intellectual Disabilities, 24,3, 380-390.
Batista Vitorino, P. A., and Martins da Silva, F. (2010). Level of Quality of Life in the elderly un ATI-UCB. Education Fisica Revista, 4(3), 1-15.
Sudavadee Kittipovanonth. (2002). The status, roles and quality of life of elderly Thais. Bangkok: National Institute of Development Administration.
Sustainable Development Goals. (2024). Thailand East and South Asia. From https://dashboards.sdgindex.org/profiles/thailand.
U.S. News & World Report’s editors. (1994). America’s Best Colleges. U.S. News & World Report. 117(10), 86-104.