ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาต่างชาติเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ ในวิชาจิตวิทยาทั่วไปในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาต่างชาติในการเรียนออนไลน์วิชาจิตวิทยาทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่าความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดในระดับ ปานกลาง (r=0.629, p-value<0.01) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่าความเครียดต่อการเรียนออนไลน์และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 54.5 (F=14.149, p-value < 0.05) และสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = 0.589 Z(ความเครียดต่อการเรียนออนไลน์) + 0.416 Z(แรงสนับสนุนทางสังคม) จากสมการพบว่าความเครียดต่อการเรียนออนไลน์มีความสำคัญอันดับแรกในการพยากรณ์ความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ รองลงมาคือ แรงสนับสนุนทางสังคม โดยอีกร้อยละ 45.5 เป็นผลมาจากปัจจัยอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน และความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนาภรณ์ ตั้งทองสว่าง และชินัณ บุญเรืองรัตน์. (2563). การศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมจากมหาวิทยาลัยในสถานการณ์โควิด-19ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ (รายงานการวิจัย). ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี และบัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68.
ปราโมทย์ ครองยุทธ์. (2560). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานการวิจัย). ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัศมิ์สุนันท์ จันทรภักดี และพิชามญชุ์ อินทะพุฒ (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2), 95-107.
สุภารัตน์ ไผทเครือวลัย์ และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2564). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล ปัจจัยความพึงพอใจในการศึกษาและการจัดการความวิตกกังวลและในช่วงวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (รายงานการวิจัย). สาขาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุรารัตน์ ปานรอด, เสาวณี ทับเพชร, ชุตินธร สุวรรณมณี และฑิตฐิตา สินรักษา. (2564). ทัศนคติต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยราชภัฏสงขลา. การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตรระดับชาติ ครั้งที่ 3 “กระบวนทัศน์ใหม่มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับการพัฒนาท้องถิ่น”. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
Mukhtar, K., Javed, K., Arooj, M. & Sethi, A. (2020). Advantages, limitations and recommendations for online learning during COVID-19 pandemic era. Pakistan. Journal of Medical Sciences, 36(4), 27-31.
Young Hee Park et. al. (2022). Stress and coping strategy of university students during COVID-19 in Korea: The mediating role of ego-resiliency. Acta Psychologica. 227, July 2022, 103615.DOI: https://doi.org/10.1016/j.actpsy.2022.103615.