แนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนากระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน และการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน
ผลการวิจัย 1) ด้านกระบวนการ พบว่ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ให้ความสำคัญในกระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงาน ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ มีนโยบาย แผนงานและมาตรการ และกระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสเป็นไปตามหลักการที่สำนักงาน ป.ป.ช.กำหนด 2) สภาพปัญหาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีตัวชี้วัดที่คะแนนบรรลุค่าเป้าหมาย 85 คะแนน 1 ตัวชี้วัด คือ การปฏิบัติหน้าที่ (89.38) และตัวชี้วัดที่คะแนนต่ำกว่าค่าเป้าหมาย 85 คะแนน มี 9 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ดังนี้ การเปิดเผยข้อมูล (58.63) การแก้ไขปัญหาการทุจริต (78.93) การใช้งบประมาณ (79.44) การใช้ทรัพย์สินของราชการ (79.85) การป้องกันการทุจริต (81.25) การปรับปรุงการทำงาน (82.79) ประสิทธิภาพการสื่อสาร (83.34) คุณภาพการดำเนินงาน (84.12) และการใช้อำนาจ (84.30) 3) แนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย 4 มิติ 21 แนวทาง มิติที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วย การใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเครื่องมือ การกำหนดแผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนปฏิบัติงานประจำปี มิติที่ 2 การจัดองค์การ ประกอบด้วย ความเป็นพลวัต การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ การกำหนดเจตจำนงด้านคุณธรรมและความโปร่งใส การใช้หลักการบริหารสมัยใหม่ การบริหารบุคคลเป็นธรรมและโปร่งใส การปลูกฝังค่านิยม การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การมีวัฒนธรรมการบริการ การสร้างเครือข่าย มิติที่ 3 การนำ ประกอบด้วย การเป็นแบบอย่างของผู้นำ การแสดงจุดยืนด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของผู้นำ ความเด็ดขาดของผู้นำ การสร้างผู้สืบทอดอุดมการณ์ มิติที่ 4 การควบคุม ประกอบด้วย การสร้างระบบการตรวจสอบภายนอก การสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบภายใน การสื่อสาร การมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และการมีส่วนร่วม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ชนิดา อาคมวัฒนะ. (2562). การยกระดับการป้องกันการทุจริตและเกณฑ์การประเมิน ITA แบบใหม่“ITA ยุคใหม่ ประเทศไทย 4.0”. โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการต่อต้านการทุจริต การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2562. จาก http://www.psdg.mhest.go.th/km/2562/3.%20ita%2062.pdf.
ดาวรุ่ง วัชรินทร์รัตน์ และคณะ. (2566). การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 5(1), 1-12.
บรรจง พรมจันทร์ และคณะ. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548. (2548). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก. หน้า 19.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). รายงานการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, จาก https://ita.ku.ac.th/wp-content/uploads/data/2021/measure1.pdf.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2565). รายงานผลการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, จาก https://strategy.kku.ac.th/docs/analysisreportita2566/.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2564). นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น 30 ตุลาคม 2566, จาก https://stri.cmu.ac.th/files/ita/cmu_ita2564.pdf.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. (2566). โครงสร้างมหาวิทยาลัย. สืบค้น 1 สิงหาคม 2566, จาก https://www.rmutr.ac.th/.
มหาวิทยาลัยพะเยา. (2565). มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน. สืบค้น 20 กันยายน 2566, จาก https://plan.up.ac.th/about-us/plan-info/detail/2.
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2566). รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2565. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bru.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/O42analyze-ita.pdf.
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (2565). เจตจำนงสุจริตและมาตรการการบริหารงานด้วยคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://ita.pkru.ac.th/hot-news/129-ebook-2564.html.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2566). มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก http://www.ita.ru.ac.th/ita_list/
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2565). รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://iau.wu.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/O42-มาตรการส่งเสริม-ITA-2566-docx.pdf.
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2565). รายงานการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.dusit.ac.th/home/wp-content/uploads/2023/02/SDU_ITA_2565.pdf.
วีระพงษ์ ก้านกิ่ง และชวนคิด มะเสนะ. (2560). สภาพปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์, 1(1), 41-55.
ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ และสุริยานนท์ พลสิม. (2562). ระบบการประเมินคุณธรรม ความโปร่งใส และธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์. ขอนแก่น: วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และคณะ. (2559). การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558.
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ.. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. สืบค้น 17 มกราคม 2567, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565) รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2566, จาก https://itas.nacc.go.th.
อัมมาร สยามวาลา. (2547). ศัพท์แสงว่าด้วยคอร์รัปชัน. เอกสารการประชุมติดตามนโยบายรัฐบาล “4 ปี ประเทศไทย” เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งสหประชาชาติ. 9 ธันวาคม 2547 ณ โรงแรมวินเซอร์สวีท, กรุงเทพมหานคร.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2565). ความโปร่งใส: แนวคิด แนวปฏิบัติ และประเด็นถกเถียง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2565). ตัวชี้วัดหลักความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. 84-92.
Bayoud, N.S., Kavanagh, M., and Slaughter, G. (2012). Corporate Social Responsibility Disclosure and Corporate Reputation in Developing Countries: The Case of Libya. Journal of Business and Policy Research, 7(1), 131-160.
Cucciniello, M., G. Porumbescu, and Grimmelikhuijsen. (2017) 25 years of transparency research: Evidence and future directions. Public Administration Review, 77(1), 32-44. DOI: 10.1111/puar.12685.
Heald, D. (2006). “varieties of Transparency,” (pp.25-43), in C. Hood, & D. Heald, Transparency: The Key to Better Governance? London: British Academy.
Louis A., Allen. (1958). Management and Organization. NY: McGraw-Hill Inc.