สัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กร เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล

Main Article Content

กิติกรณ์ ชลวิสุทธิ์
อิศราภรณ์ พูนสวัสดิ์
ประภาศรี เบญจศิริลักษณ์
กัญญาณัฐ ไฝคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล โดยรูปแบบของการวิจัยเป็นงานวิจัยประเภทงานวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จากบุคลากรทางการแพทย์ด้านปฏิบัติการ (clinical) โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล มี 11 โรงพยาบาล เก็บประชากรทุกโรงพยาบาล ซึ่งประกอบไปด้วยสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล โดยคำนวณจำนวนตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power version 3.1.9.2 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างซึ่งคณะผู้วิจัยได้มีการกำหนดจำนวนอาสาสมัครทั้งสิ้น 1,126 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หรือ 0.01


ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้านคือ ด้านการสร้างทีมสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการแก้ปัญหาร่วมกัน ด้านการเคารพความแตกต่างแต่ละช่วงอายุ ด้านวัฒนธรรมองค์กรมี และด้านภาวะผู้นำเหนือผู้นำ ส่วนอีก 3 ด้านอยู่ในระดับมากคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการสื่อสารในกระบวนการทำงาน ด้านศักยภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล เปรียบเทียบบุคลากร แพทย์ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล พบว่า พยาบาลมีความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือฯ สูงกว่าผู้ช่วยพยาบาล และแพทย์ โดยวิชาชีพพยาบาลมีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 89.50 (r = 0.895) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 รองลงมาคือ ผู้ช่วยพยาบาล มีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 81.30 (r = 0.813) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และแพทย์ มีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 80.10 (r = 0.801) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์ และพรทิพย์ เย็นจะบก.(2554). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. จาก pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/com%20theory.doc.

กิตติทัช เขียวฉะอ้อน. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-360.

ธนาคารออมสิน. (2564). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. จาก https://www.gsb.or.th/getattachment/04919889-ef98-4771-9017-a5a4a3faa063/Report_.aspx

พิชญาภา ยืนยาว. (2561). ผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารการศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2843-2857.

พีรวัศ พรรณขาม. (2562). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. จาก http://www3.ru. ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/278 2562_1597737016_ 6114832049.pdf.

ยงยุทธ บุราสิทธิ์ .(2561). การส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), 129-150.

ศุภาพิชญ์ อินแตง. (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมชาติ กิจยรรยง. (2561). กลยุทธ์การบริหารจากการอ่านคน (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: เพชรประกาย.

Cohen, J. and N., Uphoff. (1980). Participation's Place in Rural Development 8 March. Uphoff, N.T., Cohen.J.M. and Goldsmith. 1979. A-State-of-the-art paper.

DeBono, E. (1991). Teaching thinking. London: Penquin Books.

Ernest, G., & Newell, A. (1969). GPS: A case study in generality and problem solving. NY: Academic Press.

Hinkle D. E. (1998). Applied Statistics for Behavioral Sciences. Boston: Houghton Miffin. Newell, A., & Simon. H. A. (1972). Human problem solving. NJ: Prentice-Hall.

Probst, R. E. (1987). Transactional Theory in the teaching of literature. ERIC Digest.ED284274.

Strickland, B. (1977). Internal-external control of reinforcement. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Wertheimer, M. (1959). Productive thinking (Enlarged ed.). NY: Harper & Row.