อิทธิพลของปัจจัยความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี แอปพลิเคชันเป๋าตังของผู้บริโภคในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของตัวแปรความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน ความไว้วางใจ และการตั้งใจใช้แอปพลิเคชันของประชากรในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการยอมรับเทคโนโลยีสู่การตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังพื้นที่วิจัยคือเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 219 คน คิดเป็น ร้อยละ 54.75 เพศชายจำนวน 181 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.25 มีอายุ 36-45 ปีจำนวน 117 คน คิดเป็น ร้อยละ 29.25 สถานะสมรส จำนวน 264 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.00 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า จำนวน 156 คน คิดเป็น ร้อยละ 39.00รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท จำนวน 138 คน คิดเป็น ร้อยละ 34.50 2) ระดับของตัวแปรความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน ความไว้วางใจและการตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังของประชากรในเขตหนองแขม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95, 3.99, 3.97, 3.99 และ 4.00 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.349, 0.297, 0.298, 0.293 และ 0.322 ตามลำดับ 3) ความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการยอมรับเทคโนโลยีสู่การตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังมีค่าเท่ากับ 0.673 ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันมีค่าเท่ากับ 0.082, 0.066 และ 0.450 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอปพลิเคชันในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
จักรพงษ์ ลีลาธนาคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ทโฟนในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จันทิมา ฉิมช้าง. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกรรมการเงินบนโทรศัพท์มือถือ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ณฐพล ทีฆรังสรรค์. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการทางการเงินผ่านโมบายแอปพลิเคชันของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปภานัน วงศ์กิตติชัยกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งาน Krungthai NEXT ของกลุ่มวัยสีเงินในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปวิตรา สอนดี. (2560). การยอมรับนวัตกรรมโมบายแบงค์กิ้งแอปพลิเคชันเป๋าตัง (Mobile Banking Application) ของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอายุ 40-60 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติ และความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศุภสิรา คุณรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินแอปพลิเคชันเป๋าตัง Mobile Banking ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
เดวิด มกรพงศ์ และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2561). การตั้งใจใช้เทคโนโลยีในระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจาทางสาธารณะ. วิทยานิพนธ์สาขาการจัดการและกลยุทธ์ วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Asare Gideon, CHINA (2019). SERVICE INNOVATION IN THE BANKING INDUSTRY OF GHANA. International Journal of Academic Research and Reflection, 7(4), 7-25.
Bank of Thailand. (2018). Thailand’s Increasing Mobile and Internet Banking Payments Transactions Are Credit Positive for Banks. from https://www.thailand-business-news.com/banking/68086-thailands-increasing-mobile-internet-banking-payments-transactions-creditpositive-banks.html.
Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Tatham, Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). NJ: Prentice Hall.
Hair, J. F., Risher, J. J., Sarstedt, M. & Ringle, C. M. (2019). When to use and how to report the results of PLS-SEM. European business review, 31(1), 2-24.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 5-55.
Momani, A. M. & Jamous, M. (2017). The evolution of technology acceptance theories. International Journal of Contemporary Computer Research, 1(1), 51-58.
Nadlifatin, R., Miraja, B., Persada, S., Belgiawan, P., Redi, A. A. N. & Lin, S. C. (2020). The measurement of university students’ intention to use blended learning system through technology acceptance model (TAM) and theory of planned behavior (TPB) at developed and developing regions: Lessons learned from Taiwan and Indonesia. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 15(9), 219-230.
Racero, F. J., Bueno, S. & Gallego, M. D. (2020). Predicting students’ behavioral intention to use open-source software: A combined view of the technology acceptance model and self-determination theory. Applied Sciences, 10(8), 2711.