รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง

Main Article Content

สัมพันธ์ นิตย์โชติ
เพ็ญศรี ฉิรินัง
ชาญ ธาระวาส
วิวัฒน์ กรมดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วง (2) วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วง และ (3) สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ประชากรในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 150 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วงในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป AMOS ประกอบกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย (1) ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มผู้ผลิต ชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วงมีสมรรถนะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.84 คะแนน) ด้านการบริหารคน (คะแนนเฉลี่ย 3.84 คะแนน) ด้านการบริหารงานอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.77 คะแนน) และ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลอยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.86 คะแนน) จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (2) โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วงมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ด้วยหลักสถิติของอัตราส่วนไคสแควร์สัมพันธ์ที่คำนวนได้ค่า 2.356 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่อ่านค่าได้ 0.979 และดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษที่อ่านค่าได้ 0.011 (3) รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สําหรับรถยนต์หรือรถพ่วง คือ การพัฒนาสมรรถนะทั้ง 4 ด้านพร้อมกัน ได้แก่ ด้านสมรรถนะด้านการบริหารจัดการ ที่ต้องมุ่งเน้นพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง (น้ำหนักปัจจัยในรูปแบบมาตรฐาน 0.92) ด้านสมรรถนะด้านการบริหารคน ที่ต้องมุ่งเน้นพัฒนาความเชี่ยวชาญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการทำงานเป็นทีม (น้ำหนักปัจจัยในรูปแบบมาตรฐาน 0.94) ด้านสมรรถนะด้านการบริหารงาน ที่ต้องมุ่งเน้นพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ (น้ำหนักปัจจัยในรูปแบบมาตรฐาน 0.98) และ ด้านสมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ที่ต้องมุ่งเน้นพัฒนาการเป็นผู้นำ (น้ำหนักปัจจัยในรูปแบบมาตรฐาน 0.96)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2565). สถิติโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สํานักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด, สํานักงานจังหวัดสมุทรปราการ.

ไชยยศ ร่มรื่นบุญกิจ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather than Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Boyatzis, R. E. (1982). The Competent Manager: A Model of Effective Performance. NY: John Wiley and Sons Inc.

Kaplan R. S. and Norton D. P. (2004). Measuring the strategic readiness of intangible assets. Harvard Business Review, 82(2), 52-63.

Manus and MOHR. (1997). Sales Competencies for the Twenty - First Century. Report published using research conducted by Manus and MOHR Stamford/ Ridgebiela, Cann: Manus and MOHR.

Spencer, L. M. and Spencer, S. M. (1993). Competency at work, models for superior performance. NY: John Wiley & Sons, Inc.