การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า ในการดำเนินธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล

Main Article Content

ถิรวุฒิ แสงมณีเดช
บําเพ็ญ ไมตรีโสภณ
สมิตา จุลเขตร์
วิเชียร สิงห์ใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าในการดำเนินธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าในการดำเนินธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ตามแนวทางของ Scott (1990; 2006) และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล จำนวน 15 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวน 15 ท่าน รวมทั้งหมด 30 ท่าน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การประยุกต์ใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล มีการดำเนินงานตามแนวทางของหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยหลักการ 3R การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการออกแบบใหม่ (Redesign) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การลดการใช้ทรัพยากรด้วยการเลือกซื้อวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น หรือการทดแทนทรัพยากรด้วยวัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้แล้วที่มีความสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดในทุกกระบวนการ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นระบบ อุตสาหกรรมที่วางแผนและออกแบบมาเพื่อคืนสภาพหรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นกลับมาสร้างคุณค่าใหม่ มีการหมุนเวียนเป็นวงจรอย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิดของเสีย นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความสมดุลในการดึงทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานใหม่ และ 2) ปัญหาและอุปสรรคของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าในการดำเนินธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล พบว่า ปัญหาคือการที่องค์กรไม่มีบุคลากรเฉพาะด้านที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในกระบวนการทำงาน ปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ และการคัดเลือกวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุปสรรค ได้แก่ (ก) ด้านการเงิน ต้นทุนในการผลิตทำให้มีค่าดำเนินการสูง (ข) ด้านเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอาจมีความซับซ้อนและการลงทุนสูง (ค) ด้านการตลาด การสร้างความเข้าใจและเป็นที่ยอมรับในตลาด (ง) ด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการอย่างรอบคอบและมีการวางแผนที่เหมาะสม และ (จ) ด้านความรู้ การสร้างความรู้เกี่ยวกับธุรกิจแฟชั่นรีไซเคิล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2565). การใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อพัฒนาประเทศชาติและสังคมไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ครั้งที่ 5. (น. 712-722). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

จิราพรรณ วงศ์ทองสงวน. (2564). การออกแบบขยะแฟชั่นใหม่ให้มีอายุยืนยาวด้วยการสร้างความผูกพันทางอารมณ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฑามาศ โกเมนไทย. (2562). Circular Fashion. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1122.1.0.html

เทพรังสรรค์ ศรีทองอินทร์. (2563). ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ PlayStation ผ่านร้านค้าปลีก ของผู้บริโภคในกลุ่ม Facebook. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฝ่ายเศรษฐกิจและศูนย์ข้อมูลหอการค้าไทย. (2561). Circular Economy. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thaichamber.org/content/file/document/0906181536224841.pdf

ภัทร์ธมนต์ พลรงค์, จิตพนธ์ ชุมเกตุ และเกิดศิริ เจริญวิศาล. (2565). การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวกับการจัดงานอีเวนต์. Journal of Arts Management, 6(3), 1406-1422.

ภัทราพร แย้มละออ (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน-โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/1898

ศิวกร อโนรีย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2562). Circular Fashion. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.1122.1.0.html

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). เศรษฐกิจหมุนเวียน CIRCULAR ECONOMY. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bcg.in.th/data-center/articles/circular-economy/

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

แสงระวี สานใจวงค์. (2563). ทรรศนะความยั่งยืนต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน ในอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Christine, R. (2020). Fashion accounts for around 10% of greenhouse gas emissions from human activity, but there are ways to reduce the impact your wardrobe has on the climate. Retrieved February 3, 2023, from: https://www.bbc.com/future/article/20200310-sustainable-fashion-how-to-buy-clothes-good-for-the-climate

Ellen MacArthur Foundation. (2017). A new textiles economy: Redesigning fashion’s future. Retrieved February 3, 2023, from: https://www.ellenmacarthurfoundation.org/publications/a-new-textiles-economy-redesigning-fashions-future

Hysa, E., Kruja, A., Rehman, N. U., & Laurenti, R. (2020). Circular economy innovation and environmental sustainability impact on economic growth: An integrated model for sustainable development. Sustainability, 12(12), 4831.

Machado, M. A. D., Almeida, S. O. D., Bollick, L. C., & Bragagnolo, G. (2019). Second-hand fashion market: consumer role in circular economy. Journal of Fashion Marketing and Management: An International Journal, 23(3), 382-395.

McKinsey & Company. (2020). COVID-19: Briefing Materials. Global Health and Crisis Response, Updated 3 April.

Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitions. NY: Free Press.

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Policy Press.

Scott, J. (2006). Social Research and Documentary Sources. SAGE Publication.

Workpointtoday. (2021). แฟชั่นหมุนเวียน ทางออกวิกฤต Fast Fashion. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://workpointtoday.com/แฟชั่นหมุนเวียน-ทางออ/