แนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

Main Article Content

สิริพร พงศ์หิรัญสกุล
พัชรี ฉลาดธัญกิจ
ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี
กาญจนา จินดานิล
สุกัญญา ตั้งประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในวัยทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้นเพื่อทดแทนการขาดแคลนแรงงาน จึงต้องทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในตลาดแรงงานได้นานมากขึ้น ด้วยการขยายอายุการทำงานและการรับกลับเข้าทำงานอีกครั้งหลังวัยเกษียณ ลักษณะของงานผู้สูงอายุควรเป็นงานที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับสภาพร่างกาย แนวทางการพัฒนาทักษะของผู้สูงอายุต้องดำเนินการจาก 3 ส่วนที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้สูงอายุ โดยส่วนแรกภาครัฐควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ เพื่อคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุและส่งเสริมการจ้างงาน ส่วนที่สองภาคเอกชนให้ความร่วมมือด้วยการกำหนดนโยบายแผนการรับผู้สูงอายุและการต่อสัญญาจ้างให้ชัดเจน โดย กำหนดลักษณะงานที่เหมาะสม ส่วนที่สามผู้สูงอายุจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยี ด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ด้านการศึกษาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ด้านการปรับตัว และการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง  รวมตลอดถึงการหางานอดิเรกทำเพื่อเปลี่ยนเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การพัฒนาทักษะอื่นที่ตนสนใจ และการเข้าร่วมสังคม เครือข่าย หรือชมรมผู้สูงอายุต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ทิศทางตลาดแรงงานผู้สูงวัยและแนวทางการเตรียมตัวพัฒนาตนเอง. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th

กาณติมา พงษ์นัยรัตน์. (2564). แนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. รายานการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชลธิชา อัศวนิรันดร, ชฎาธาร โอษธีศ, วัชระ เพชรดิน, วิรัลพัชร มานิตศรศักดิ์ และนลัท จิลลานนท์. (2563). โครงการรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนของไทย : ความยืดหยุ่น ผลิตภาพ และการคุ้มครอง. รายานการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพร โภคาพานิชย์, วิจิตรา ศรีสอน และสัณฐาน ชยนนท์. (2564). แนวทางการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ในสังคมยุคดิจิทัล อำเภอมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 161-174.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). ส่องเทรนด์อาชีพผู้สูงวัย “เกษียณแต่ยังมีไฟก็ทำงานได้”. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2566, จาก https://bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256402TheKnowledge_Career.aspx.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). การจ้างงานผู้สูงอายุ: หลักการและการนำไปปฏิบัติในงานภาครัฐ และงานภาคเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 38(1), 201-221.

ปรีชา คำมาดี. (2560). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการแรงงานผู้สูงอายุ:หลักฐานเชิงประจักษ์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวีณา แจ้งประจักษ์. (2564, ตุลาคม). การจ้างงานผู้สูงอายุในสังคมไทย: องค์ความรู้จากการสังเคราะห์งานวิจัย จากฐานข้อมูลปริญญานิพนธ์ Thailand Collection. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(10), 105-107.

พงศ์เสวก อเนกจำนงพร และธัญลักษณ์ เอนกจำนงค์พร. (2563). แรงงานผู้สูงอายุ: โอกาสและความท้าทายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการบริการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 216-229.

พัชรพงศ์ ชวนชม, ธีระวัฒน์ จันทึก และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). ลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 107-116.

พัชราพรรณ กิจพันธ์. (2561). ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารอาหารและยา, 25(3), 4-8.

วรรณพร ชูอำนาจ. (2564). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ เรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน(Reskill/Upskill/New skill) เพื่อยกระดับการทำงานและพัฒนาสู่อาชีพใหม่. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2566, จาก https://nirc.mol.go.th/research

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 6 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/knowledgePDF

สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2565). แนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุในรูปแบบห้องเรียนหลากหลายวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 6(2), 1-16.

Karpinska, K., Henkens, K., Schippers, J. & Wang, M. (2015). Training opportunities for older workers in the Netherlands: A Vignette Study. Research in Social. Stratification and Mobility, 41, 103-112.

Marketeer Team. (2565). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่องแต่อัตราการเกิดต่ำ. สืบค้น 26 เมษายน 2566, จาก https://marketeeronline.co/archives.

Shumpei Sakai. (2020). Japan retailer pushes limit of retirement age, making 80 the new 65. from https://asia.nikkei.com/Business/Retail/Japan-retailer-pushes-limit-of-retirement-age-making-80-the-new-65

Today Bizview. (2565). ตัวอย่างบริษัทเปิดรับ “วัยเกษียณ”. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2566, จาก https://workpointtoday.com/companies-accept-retirees-for-work/