การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย

Main Article Content

วิเชียร สิงห์ใหม่
เนตรชนก สูนาสวน
ถิรวุฒิ แสงมณีเดช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย 2) ศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทยกับปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ให้ข้อมูลครั้งนี้ คือผู้ประกอบการธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย จำนวน 150 ราย ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย ผู้ประกอบการได้ให้ความสำคัญในประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานในการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ มีการวางแผนการผลิตดำเนินให้เป็นไปตามกระบวนการ มีการบริหารงบประมาณอย่างเป็นระบบ มีการควบคุมต้นทุนทางด้านการจัดหาวัตถุดิบ ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ 2) แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย ควรมีการวางโครงสร้างการตลาดและหาผู้ร่วมบริหารมีกิจกรรมการตลาดที่เชื่อมโยงกับธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารวีแกนไปสู่เป้าหมาย มีอุตสาหกรรมปลายน้ำรวมถึงควรสร้างสินค้าที่หลากหลายและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคควบคู่ไปกับการลดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3) ระดับความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทยไม่แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย เจริญชัย. (2562). การศึกษาระบบจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของมันสำปะหลังในจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์ และสุชาดี ธำรงสุข. (2565). การศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบสินค้าในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(1), 16-32.

ชุติเดช วิศาลกิตติ. (2555). การจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้า ผักปลอดภัยในเขตอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐปภัสร์ ฤทธิ์วัฒนวาณิช, ยุทธนา คล้ายอยู่ และสุรัชฎา เมฆขลา. (2565). แนวทางการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอและแปรรูปเสื่อกกบ้านโนนสะอาด จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 425-440.

พรทิพย์ รอดพ้น, นวินดา ซื่อตรง และนิลุบล วิโรจน์ผดุงพงศ์. 2561. การจัดการห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. Journal of nakhonratchasima college, 12(2), 46-57.

อัญชิษฐา สวัสดีนฤมล. (2563). การศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานของการประกอบการวัสดุก่อสร้างในจังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

BangkokbankSME. (2020). ‘วีแกน’ เจาะตลาด Niche Market ทางเลือกผู้ผลิตอาหารไทย. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/vegan-niche-market-thai-food-producer

Globthailand. (2020). สเปนทุ่ม 2.5 แสนยูโร พัฒนาอาหาร Vegan กระแสใหม่ของโลก. สืบค้น 21 มีนาคม 2566, จาก https://globthailand.com/spain23042020/

IDG Thailand. (2019). 2019 ปีของเทรนด์วีแกน (vegan). สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก https://idgthailand.com/2019-vegan/