การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุ ตามหลักภาวนาธรรม ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุตามหลักภาวนาธรรม และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุตามหลักภาวนาธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานจ้าง ลูกจ้างประจำ จำนวน 169 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวม 8 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุตามหลักภาวนาธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านศีลภาวนา ด้านจิตภาวนา ด้านปัญญาภาวนา และด้านกายภาวนา 2) ปัญหาการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรต่อการปฏิบัติงานด้านพัสดุตามหลักภาวนาธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี ดังนี้ (1) บุคลากรขาดแรงกระตุ้นในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน )2) บุคลากรขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน และ (3) บุคลากรขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน 3) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ได้แก่ (1) การเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในการปฏิบัติงานพัสดุ (2) การนำหลักภาวนาธรรมมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และ (3) การส่งเสริมให้บุคลากรได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเพื่อส่งผลให้การปฏิบัติงานดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น
References
จินุกูล หลวงอภัย. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนาธรรมของศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 1(2), 75-92.
นัฐพล บุญสอน. (2565). ภาวนาธรรม: หลักธรรมสำหรับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 220-231.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
พระมหาฉัตรชัย ปญฺญาวฑฺฒโน (พลศรี). (2561). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พีรวัศ พรรณขาม. (2563). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2563). ประไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหามกุฎราชวิทยาลัย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย นครปฐม.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี. (2565). กองพัสดุและทรัพย์สิน. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565,จาก https://www.ratchaburipao.go.th/personnel/board-list.php?b=20
อัจจิมา ฉัตรแก้ว. (2555). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc-Graw Hill
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological. 25(140), 1-55.