การใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารระบบการศึกษาของผู้ต้องขัง ในเรือนจำกลางสงขลา

Main Article Content

ธีรวัฒน์ รอดขวัญ
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร
สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารระบบการศึกษาของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา และเพื่อเสนอแนวทางการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารระบบการศึกษาของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขัง ที่ถูกคุมขังอยู่ที่ฝ่ายควบคุมแดน 3 เรือนจำกลางสงขลา จำนวน 248 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็ซซี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลา ผู้อำนวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขัง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาผู้ต้องขัง ผู้อำนวยการส่วนทัณฑปฎิบัติ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ รวมทั้งสิ้น 5 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารระบบการศึกษาของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านหลักวิริยะ (ความเพียร ความขยันหมั่นเพียร) ด้านหลักฉันทะ (ความพอใจ ความต้องการ) ด้านหลักจิตตะ (ความคิด ความตั้งจิตรับรู้) และด้านหลักวิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือทดลอง) ตามลำดับ ส่วนแนวทางการใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการบริหารระบบการศึกษาของผู้ต้องขังเรือนจำกลางสงขลา ประกอบด้วย (1) ด้านหลักฉันทะ ควรมีการสำรวจความพึงพอใจหรือความต้องการในการศึกษาต่อหรือการพัฒนาตนเองของผู้ต้องขังเพื่อนำมากำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมการศึกษาของผู้ต้องขัง (2) ด้านหลักวิริยะ ควรส่งเสริมให้ผู้ต้องขังรู้จักหลักการบริหารจัดการตนเองและการบริหารเวลาเพื่อวางแผนในการศึกษาได้อย่างเต็มที่พร้อมกับสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาแก่ผู้ต้องขังอย่างต่อเนื่อง (3) ด้านหลักจิตตะ ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้ต้องขังตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเพื่อนำความรู้มาใช้หลังจากพ้นโทษ และ (4) ด้านหลักวิมังสา ผู้บริหารควรศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการส่งเสริมการศึกษาให้กับผู้ต้องขังอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพุทธศักราช 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กลุ่มงานพัฒนาระบบการพัฒนาพฤตินิสัย. (2544). การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: กรมราชทัณฑ์.

ธิดารัตน์ วงศ์แสงธรรม. (2565). ประสิทธิภาพการบริหารงานสํานักงานเลขานุการกรมทางหลวงตามหลักอิทธิบาทธรรม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 77-84.

ผกา สัตยธรรม. (2544). คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ: พลอยเพลท.

พุทธทาสภิกขุ. (2543). ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุราษฎร์ธานี: ธรรมทานมูลนิธิไชยา.

พระครูปริยัติเจติยคุณ (อภิวณฺโณ), ประจิตร มหาหิง และสุนทร สายคํา. (2564). การบริหารงานบุคคลตามหลักอิทธิบาทสี่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 6(1), 313-324.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2561). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารหมาจุฬานาครทรรศน์. 6(5), 2459-2480.

พระมหาฐิติวัสส์ ฐิติวฑฺฒโน พระฮอนด้า วาทสทฺโท, จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธศึกษาและวิจัย, 7(3), 206-216.

พระมหาสุพิชฐพล ชิตวิริโย (เชื้อกุล), พระฮอนด้า วาทสทฺโท และพระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส. (2564). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1031-1046.

วรีภรณ์ นระแสน, พระฮอนด้า วาทสทฺโท และสุนทร สายคำ. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1337-1346.

วิสัย พฤกษะวัน. (2544). คำอธิบายพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หจก.ทิพย์อักษร.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2545). พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจำปีการศึกษา 2545.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สำราญ ยี่ซ้าย และคณะ. (2561). ความพึงพอใจของผู้ต้องขังที่มีโครงการ กินอิ่ม – นอนอุ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี เรือนจำจังหวัดสงขลา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 3(2), 1-18.

Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. NY: Mc–Graw Hill.

Likert, R. A. (1932, May). Technique for the Measurement of Attitudes. ArchPsychological, 25(140), 1-55.